เมนูปิด
เลขที่หนังสือ: กค 0702/4608
วันที่: 28 มิถุนายน 2553
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการเสียภาษีเงินได้ของคณะบุคคล
ข้อกฎหมาย: มาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          นาง ก. กับนาง ข. ได้ทำสัญญาจัดตั้งคณะบุคคลฯ มีวัตถุ ประสงค์หลักคือประกอบกิจการให้บริการเช่าสำนักงานและให้เช่า รถยนต์ โดยคู่สัญญาตกลงกันลงทุนด้วยเงินสดคนละ 10,000 บาท กำไรที่เหลือหลังจากเสียภาษีเงินได้ในนามคณะบุคคลฯ แล้ว จะนำมาแบ่งปันกันตามสัดส่วนการลงทุน และตามบันทึกแนบท้ายสัญญาจัด ตั้งคณะบุคคลฯ คู่สัญญาตกลงกันเพิ่มทุน โดยนาง ข. นำห้องชุดมูลค่า 3,797,700 บาท และนำรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ มูลค่า 3,409,000 บาท มา ลงทุนเพิ่ม และนาง ก. นำรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ มูลค่า 2,349,000 บาท มาลงทุนเพิ่ม จึงขอทราบว่า
          1. เงินได้จากค่าเช่าสำนักงานและค่าเช่ารถยนต์ ควรเป็น เงินได้ของคณะบุคคลฯ หรือเป็นเงินได้ของผู้ร่วมลงทุนแต่ละคน ตามสัดส่วนการลงทุน
          2. การหักค่าใช้จ่ายของเงินได้จากค่าเช่ารถยนต์ของคณะ บุคคลฯ หากเลือกหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร จะหัก ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามหลักเกณฑ์เดียวกันกับการหักค่า สึกหรอและค่าเสื่อมราคาสำหรับนิติบุคคลได้หรือไม่
แนววินิจฉัย          1. กรณีนาง ก. กับนาง ข. ทำสัญญาจัดตั้งคณะบุคคลฯ โดยมี วัตถุประสงค์หลักคือประกอบกิจการให้บริการเช่าสำนักงานและ ให้เช่ารถยนต์ โดยคู่สัญญาตกลงกันลงทุนด้วยเงินและทรัพย์สิน และ ตกลงจะแบ่งปันกำไรที่ได้รับจากกิจการนั้น เข้าลักษณะเป็นสัญญา ซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกันด้วย ประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น อันเป็น สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนตามมาตรา 1012 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ เมื่อมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามมาตรา 1015 จึงเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญตามมาตรา 1013 (1) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มิใช่เป็นสัญญาจัดตั้งคณะบุคคล เนื่องจาก สัญญาจัดตั้งคณะบุคคล คือสัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำ กิจการร่วมกันเหมือนห้างหุ้นส่วนสามัญ แต่ไม่มี วัตถุประสงค์ที่จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้จากกิจการที่ทำนั้น ดังนั้น เงินได้จากค่าเช่า สำนักงานและค่าเช่ารถยนต์ดังกล่าว จึงเป็นเงินได้ ของห้างหุ้นส่วนสามัญที่มีนาง ก. กับนาง ข. เป็นหุ้นส่วน
          2. กรณีการหักค่าใช้จ่ายของเงินได้พึงประเมินจากค่าเช่ารถ ยนต์ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากผู้มี เงินได้แสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงานประเมินและพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้ จ่ายมากกว่าอัตราร้อยละเป็นการเหมา ให้หักค่าใช้จ่ายได้ตาม ความจำเป็นและสมควร ตามมาตรา 5 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตาม ความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่าย ที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 ทั้งนี้ ให้นำมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร มาใช้บังคับโดยอนุโลม
เลขตู้: 73/37367

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020