เมนูปิด
เลขที่หนังสือ: กค 0702/5808
วันที่: 2 สิงหาคม 2553
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการใช้สิทธิเลือกเสียภาษีของสามีและภริยา
ข้อกฎหมาย: มาตรา 57 ตรี มาตรา 48(3) และมาตรา 50(2) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          นาย ก. มีเงินได้ประเภทดอกเบี้ยจากตราสารหนี้ และเงินปันผล ภริยามีเงินได้เฉพาะดอกเบี้ยจากตราสารหนี้เพียง ประเภทเดียว จึงขอหารือว่า
          1. นาย ก. จะเลือกใช้สิทธินำเงินได้ ประเภทเงินปันผล และ ดอกเบี้ยจากตราสารหนี้ เฉพาะส่วนของตนเองมายื่นแบบ แสดงรายการเพื่อเสียภาษี โดยไม่นำเงินได้ประเภทดอกเบี้ยจากตราสารหนี้ส่วน ของภริยามารวมคำนวณในการยื่นแบบแสดง รายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และไม่หักลดหย่อนในส่วนของภริยา จะได้หรือไม่
          2. ภริยาจะนำเงินได้ประเภทดอกเบี้ยจากตราสารหนี้ มา แยกยื่นแบบแสดงรายการโดยไม่นำมารวมคำนวณกับเงินได้ ของสามี หรือจะไม่นำเงินได้ประเภทดอกเบี้ยดังกล่าวมายื่นแบบแสดงรายการ เพราะถือว่าได้เลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 15.0 ไว้แล้ว จะได้หรือไม่
แนววินิจฉัย          กรณีที่นาย ก. และภริยาต่างมีเงินได้ทั้งสองฝ่าย มาตรา 57 ตรี วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดว่า "ในการเก็บ ภาษีเงินได้จากสามีและภริยานั้น ถ้าสามีและภริยาอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีล่วงมาแล้ว ให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็น เงินได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นแบบรายการและเสียภาษี..." ตามข้อเท็จจริงสามีมีเงินได้ ประเภทดอกเบี้ยจากตราสารหนี้และเงินปันผล ภริยามีเงินได้ประเภทดอกเบี้ยจากตราสารหนี้เป็นกรณีสามีและ ภริยาที่อยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ดังนั้น จึงต้องถือว่าเงินได้ของภริยาเป็นเงินได้ของสามีและสามีมีหน้าที่และความรับผิด ในการยื่นรายการและเสียภาษีโดยถือว่าสามีภริยาเป็นหน่วยภาษีเดียวกัน และเงินได้ประเภทดอกเบี้ยจากตราสารหนี้ และ เงินปันผล ผู้มีเงิน ได้จะเลือกเสียภาษี ตามที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ โดยไม่นำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นก็ได้ตามมาตรา 48(3) และมาตรา 50(2) แห่งประมวล รัษฎากร แต่เนื่องจากสามีภริยาถือเป็นหน่วยภาษีเดียวกันสามีจะเลือกใช้สิทธินำเงินได้ดังกล่าว มารวมคำนวณภาษีเฉพาะส่วนของตนไม่ได้ นาย ก. จะต้องนำเงินได้ประเภทดอกเบี้ยจากตราสารหนี้ และเงินปันผล ทั้งส่วน ของตนและภริยา มายื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงิน ได้บุคคลธรรมดา
เลขตู้: 73/37437

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020