เมนูปิด
เลขที่หนังสือ: กค 0702/5807
วันที่: 2 สิงหาคม 2553
เรื่อง: ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายเงินค่านายหน้าไปต่างประเทศ
ข้อกฎหมาย: มาตรา 70 และมาตรา 83/6 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          บริษัทผู้ว่าจ้างฯ เป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ได้ทำ สัญญาว่าจ้างกับบริษัทผู้รับจ้างฯ เป็นนิติบุคคลจัด ตั้งขึ้นตามกฎหมายฮ่องกง ไม่มีสถานประกอบการในประเทศไทย ตามสัญญาว่าจ้างดัง กล่าว ผู้รับจ้างฯ มีหน้าที่เป็นตัวกลางในการติดต่อ จัดหา และอำนวยความสะดวกในการจัดหาผู้ขายวัตถุดิบในประเทศต่างๆ และช่วยต่อ รองราคา แต่ไม่มีอำนาจ ในการตัดสินใจในการซื้อทั้งสิ้น ผู้ว่าจ้างฯ จ่ายค่าตอบแทนให้ผู้รับจ้างฯ ในรูปนายหน้าเป็นจำนวนเงินเหรียญ ดอลลาร์สหรัฐต่อเมตริกตัน หรือน้ำหนักของวัตถุดิบที่ได้มีการตกลงราคาซื้อขาย โดยผู้ว่าจ้างฯ จะทำการจ่ายค่าตอบแทนเมื่อการซื้อขาย ดังกล่าว ได้บรรลุวัตถุประสงค์ตามขั้นตอนการซื้อขายแล้ว ทั้งนี้ ผู้รับจ้างฯ ไม่ได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทยเพื่อธุรกรรมดังกล่าว ผู้ว่า จ้างฯ จึงขอหารือว่า การจ่ายค่าตอบแทนดังกล่าว ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
แนววินิจฉัย          1. กรณีภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย หากผู้รับจ้างฯ เป็นนิติบุคคลที่ได้ รับค่านายหน้า มีถิ่นที่อยู่ในเขตบริหารพิเศษ ฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน มิได้ประกอบกิจการผ่านสถานประกอบการถาวรใน ประเทศไทย ผู้รับจ้างฯ จะได้รับ ยกเว้นภาษีเงินได้ในประเทศไทยตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง แห่งความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งเขตบริหาร พิเศษฮ่องกงแห่ง สาธารณรัฐประชาชนจีนและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากร ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ ประกอบกับมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้น รัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 ผู้ว่าจ้างฯ จ่ายค่านายหน้าให้กับผู้รับจ้างฯ จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร
          2. กรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีผู้ว่าจ้างฯ จ่ายค่านายหน้าให้ผู้ รับจ้างฯ เข้าลักษณะเป็นการจ่ายค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการนอกราชอาณาจักร เนื่องจากการให้บริการในต่างประเทศ ผู้ว่าจ้างฯ ไม่มี หน้าที่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/6 แห่ง ประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 73/37436

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020