เมนูปิด

 

เลขที่หนังสือ: กค 0811/10960
วันที่: 20 พฤศจิกายน 2544
เรื่อง: ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการขนส่งสินค้าทางทะเล
ข้อกฎหมาย: มาตรา 3 เตรส
ข้อหารือ: การประกอบกิจการของบรรดาสมาชิกของสมาคมฯ มีลักษณะคล้ายคลึงกับการเป็นตัวแทนขาย
ระวางสินค้าของสายการบิน ซึ่งกรมสรรพากรได้มีหนังสือชี้แจงแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้
ณ ที่จ่ายไปแล้ว สมาคมฯ มีความเห็นว่า กรมสรรพากรควรกำหนดให้ตัวแทนสายการเดินเรือถือปฏิบัติ
เกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เช่นเดียวกับตัวแทนขนส่งสินค้าทางอากาศยาน
แนววินิจฉัย: 1. กรณีตัวแทนเรือกระทำการแทนสายการเดินเรือต่างประเทศในลักษณะเดียวกันกับ
GENERAL SALES AGENT (GSA) ของสายการบิน เมื่อผู้ใช้บริการ (Shippers หรือ Forwarders)
จ่ายค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าขาออกให้กับตัวแทนเรือ โดย
ตัวแทนเรือออกใบตราส่ง (Master Bill of Lading) ในนามสายการเดินเรือให้กับผู้ใช้บริการ
ผู้ใช้บริการซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจากสายการเดินเรือ และเมื่อตัวแทนเรือ
นำเงินค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าขาออกจำนวนดังกล่าวจ่าย
ให้กับสายการเดินเรือ ตัวแทนเรือไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด
2. กรณีตัวแทนเรือได้ซื้อระวางสินค้าของสายการเดินเรือและขายระวางสินค้าให้กับเจ้าของ
สินค้า (Shipper) การดำเนินงานดังกล่าวตัวแทนเรือมิใช่ตัวแทนของสายการเดินเรือตาม 1. แต่เป็น
ตัวแทนที่เรียกว่า Freight Forwarder ดังนั้น
2.1 กรณี Forwarder จ่ายค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และผลประโยชน์อื่นใด เกี่ยวกับ
การขนส่งสินค้าขาออกให้กับสายการเดินเรือ โดยสายการเดินเรือได้ออกใบตราส่ง (Master Bill
of Lading) ให้กับ Forwarder ในนามของเจ้าของสินค้า แต่ออกใบเสร็จรับเงินในนาม
Forwarder ถือว่า Forwarder จ่ายค่าบริการขนส่งสินค้าขาออกให้กับสายการเดินเรือ ซึ่ง
Forwarder มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจากสายการเดินเรือ ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ
ที่จ่ายให้กับสายการเดินเรือในนามของ Forwarder และยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามแบบ
ภ.ง.ด.53 โดยระบุชื่อ ที่อยู่และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของ Forwarder ในช่อง "ผู้จ่ายเงิน"
ซึ่งกรมสรรพากรจะออกใบเสร็จรับเงินในนามของ Forwarder ต่อมาเมื่อ Forwarder เรียกเก็บ
ค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และผลประโยชน์อื่นใดเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าขาออกจากเจ้าของสินค้าโดยใช้
ใบตราส่งของสายการเดินเรือดังกล่าว (Master Bill of Lading) และ Forwarder ออก
ใบเสร็จรับเงินในนามของเจ้าของสินค้า ถือว่าเจ้าของสินค้าจ่ายค่าบริการขนส่งสินค้าขาออกให้กับ
Forwarder ซึ่งเจ้าของสินค้ามีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจากยอดรวมทั้งหมด และต้องออก
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้กับ Forwarder
2.2 กรณี Forwarder จ่ายค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และผลประโยชน์อื่นใด เกี่ยวกับ
การขนส่งสินค้าขาออกให้กับสายการเดินเรือ โดยสายการเดินเรือได้ออกใบตราส่ง (Master Bill
of Lading) ให้กับ Forwarder ในนามของเจ้าของสินค้า และสายการเดินเรือออกใบเสร็จรับเงิน
ในนามของเจ้าของสินค้าด้วย กรณีดังกล่าว Forwarder จะทำหน้าที่เป็นตัวแทนของเจ้าของสินค้า
ดังนั้น เมื่อ Forwarder จ่ายค่าบริการขนส่งสินค้าขาออกให้กับสายการเดินเรือในนามของเจ้าของ
สินค้า Forwarder จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจากสายการเดินเรือ โดยออก
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ของ Forwarder เอง และระบุชื่อ ที่อยู่และ
เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของเจ้าของสินค้าด้วย ซึ่งถือเป็นการกระทำการแทนเจ้าของสินค้า ต่อมา
เมื่อเจ้าของสินค้าจ่ายเงินดังกล่าวคืนให้กับ Forwarder เจ้าของสินค้าไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ
ที่จ่าย จาก Forwarder สำหรับการยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย นั้น Forwarder มีหน้าที่ต้อง
ยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามแบบ ภ.ง.ด.53 เป็นรายฉบับแต่ละรายเจ้าของสินค้า โดยระบุ
ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของเจ้าของสินค้าในช่อง "ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย" และ
ระบุชื่อ Forwarder ในช่อง "ผู้จ่ายเงิน" ซึ่งกรมสรรพากรจะออกใบเสร็จรับเงินในนามของเจ้าของ
สินค้าและให้ Forwarder ส่งสำเนาหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ใบเสร็จรับเงินจากการยื่นแบบ
ภ.ง.ด.53 และสำเนาแบบ ภ.ง.ด.53 ให้กับเจ้าของสินค้า
เลขตู้: 64/31111


 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020