เมนูปิด

 

เลขที่หนังสือ: กค 0811/0875
วันที่: 16 พฤศจิกายน 2544
เรื่อง: ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการโอนเงินรายย่อยทางอิเล็กทรอนิกส์
ข้อกฎหมาย: มาตรา 40(8), คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2 528, คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.104/2544 ฯ ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2544, มาตรา 50 ทวิ วรรคสาม, มาตรา 50 ทวิ (1)
ข้อหารือ: ธนาคารแห่งประเทศไทยได้หารือกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ดังนี้
1. ปัญหาทางปฏิบัติเกี่ยวกับระบบการโอนเงินรายย่อยทางอิเล็กทรอนิกส์ (MediaClearing)
Media Clearing คือ ระบบการเรียกเก็บเงินหรือการชำระเงินรายย่อยระหว่างลูกค้าที่มี
บัญชีอยู่ต่างธนาคาร โดยธนาคารแห่งประเทศไทยทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการรับส่ง ข้อมูล คำสั่งโอน
เงิน และคำนวณส่วนแบ่งค่าธรรมเนียมระหว่างธนาคารสมาชิก ซึ่งธนาคารสมาชิกจะทำสัญญาการใช้
บริการกับผู้ใช้บริการรายหนึ่ง ๆ ในครั้งเดียว และสามารถโอนเงินได้ตลอดไป จนกว่าจะทำสัญญาขอ
ยกเลิกการใช้บริการโดยมีการตกลงจ่ายค่าธรรมเนียมการให้บริการรายการละไม่เกิน 10 บาท รายได้
จากค่าบริการแบ่งจ่ายเป็น 3 ส่วน ดังนี้
(1) ธนาคารผู้ส่งข้อมูล 3.50 บาท
(2) ธนาคารผู้รับข้อมูล 5.90 บาท
(3) ธนาคารแห่งประเทศไทย 0.60 บาท
รวม 10.00 บาท
ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการให้บริการดังกล่าว ธนาคารผู้ส่งข้อมูลจะเป็น ผู้เรียกเก็บ
ค่าธรรมเนียมจากผู้ใช้บริการ และธนาคารแห่งประเทศไทยจะคำนวณและแบ่งค่า ธรรมเนียมให้แก่
ธนาคารผู้รับข้อมูลและธนาคารแห่งประเทศไทย ทุกวันที่ 7 ของเดือนถัดไปเพื่อเป็นหลักฐานให้ธนาคาร
สมาชิกนำไปยื่นเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ธนาคารแห่งประเทศไทยหารือว่า
1.1 รายได้จากค่าธรรมเนียมการให้บริการดังกล่าวต้องเสียภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย หรือไม่
อย่างไร และถือเป็นการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) หรือมาตรา 40(8)แห่ง
ประมวลรัษฎากร และเข้าลักษณะเป็นสัญญาระยะยาวหรือไม่
1.2 กรณีต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย จะมีวิธีปฏิบัติอย่างไร เนื่องจากในการเรียกเก็บ
ค่าธรรมเนียม ผู้ใช้บริการจะเป็นผู้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจากธนาคารผู้ส่งข้อมูลเต็มจำนวน ในขณะที่
ต้องแบ่งรายได้เป็น 3 ส่วน
1.3 ค่าธรรมเนียมในส่วนของธนาคารแห่งประเทศไทยจำนวน 0.60 บาท ไม่ต้องหัก
ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ใช่หรือไม่
2. ปัญหาทางปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียกเก็บเงินจากเช็คต่างจังหวัดข้ามเขตสำนักหักบัญชี
(Bill for Collection) ซึ่งวิธีการเรียกเก็บเงินของเช็คต่างจังหวัดมี 2 วิธี คือ
2.1 ธนาคารผู้รับฝากเช็คจะเรียกเก็บเงินโดยให้สาขาธนาคารของตนที่ตั้งอยู่ในเขต
เดียวกันกับสาขาธนาคารผู้จ่ายตั้งอยู่เป็นผู้เรียกเก็บเงินผ่านสำนักหักบัญชีจังหวัด ซึ่งธนาคาร ผู้รับฝาก
เช็คจะคิดค่าธรรมเนียม หมื่นละ 20 บาท เป็นรายได้ของธนาคารผู้รับฝากเช็ค
ธนาคารแห่งประเทศไทยหารือว่ารายได้จากค่าธรรมเนียมการให้บริการดังกล่าว ต้องหักภาษีเงินได้ ณ
ที่จ่าย หรือไม่
2.2 ธนาคารผู้รับฝากเช็คไม่มีสาขาในท้องถิ่นเดียวกับสาขาธนาคารผู้จ่าย ดังนั้น
ธนาคารผู้รับฝากเช็คจะส่งเช็คเรียกเก็บผ่านสำนักงานใหญ่ของธนาคารผู้จ่ายโดยธนาคาร ผู้รับฝากเช็ค
จะคิดค่าธรรมเนียมจากผู้ใช้บริการหมื่นละ 20 บาท เช่นเดียวกับกรณี 2.1 แต่นำไปจ่ายให้กับธนาคาร
ผู้จ่าย ธนาคารผู้รับฝากเช็คไม่มีรายได้จากค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด ธนาคารแห่งประเทศไทยหารือว่า
จะมีวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร
3. เนื่องจากการโอนเงินรายย่อยทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น (Media Clearing) ผู้ใช้บริการ
และธนาคารผู้ส่งข้อมูลมีภาระในการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จึงขอให้กรมสรรพากร
พิจารณาผ่อนผันการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยธนาคารแห่งประเทศได้ส่งรูปแบบ
รายงานการรับชำระค่าธรรมเนียมและภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ระหว่างธนาคารผ่านระบบ Media
Clearing ให้กรมสรรพากรพิจารณาด้วยแล้ว
แนววินิจฉัย: 1. รายได้จากค่าธรรมเนียมการให้บริการโอนเงินรายย่อยทางอิเล็กทรอนิกส์ (Media
Clearing) ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร และเข้าลักษณะเป็น
การให้บริการตามสัญญาระยะยาวซึ่งไม่สามารถคำนวณค่าบริการที่จะได้รับทั้งสิ้นเป็นจำนวนที่แน่นอน
ดังนั้น เมื่อผู้ใช้บริการจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับธนาคารผู้ส่งข้อมูลจำนวน 10.00 บาท ผู้ใช้บริการมีหน้าที่
ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ของเงินจำนวน 10.00 บาท ตามข้อ 12/1 ของ
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่ง
ประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม
โดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.104/2544 ฯ ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2544 และเมื่อธนาคาร
ผู้ส่งข้อมูลจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับธนาคารผู้รับข้อมูลจำนวน 5.90 บาท ธนาคารผู้ส่ง ข้อมูลมีหน้าที่ต้อง
หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ของเงินจำนวน 5.90 บาทตามข้อ 12/1 ของ
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.104/2544 ฯ ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2544 แต่สำหรับกรณีธนาคาร
ผู้ส่งข้อมูลได้จ่ายค่าธรรมเนียมให้กับธนาคารแห่งประเทศไทยจำนวน 0.60 บาทธนาคาร ผู้ส่งข้อมูลไม่มี
หน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทยไม่มีหน้าที่ต้องเสีย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร
2. เนื่องจากธุรกรรมการโอนเงินรายย่อยทางอิเล็กทรอนิกส์ (Media Clea ring)
ผู้ใช้บริการและธนาคารผู้ส่งข้อมูลมีภาระในการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นอย่างมาก
ดังนั้น เพื่อเป็นการลดภาระการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายกรณีดังกล่าว กรมสรรพากรจึง
ผ่อนผันการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร
ดังนี้
2.1 ให้ผู้ใช้บริการซึ่งมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย จากธนาคารผู้ส่ง ข้อมูล
ไม่ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับการจ่ายค่าธรรมเนียมในทันทีทุกครั้งที่มีการหักภาษี
ณ ที่จ่าย โดยให้ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย 1 ครั้งต่อเดือน แต่ผู้ใช้บริการดังกล่าวยังคงมี
หน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่มีการจ่ายเงินได้
2.2 ให้ธนาคารผู้ส่งข้อมูลไม่ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับการจ่าย
ค่าธรรมเนียมให้กับธนาคารผู้รับข้อมูลในทันทีทุกครั้งที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยให้ใช้รายงานการชำระ
ค่าธรรมเนียมและภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายระหว่างธนาคารผ่านระบบ Media Clearing ที่
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ส่งไปประกอบการพิจารณา เป็นหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ แต่
ธนาคารผู้ส่งข้อมูลยังคงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่มีการจ่าย เงินได้
3. กรณีผู้ใช้บริการเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น จ่ายค่าธรรมเนียมใน
การเรียกเก็บเงินตามเช็คต่างจังหวัดข้ามเขตสำนักหักบัญชี (Bill for Collection) ให้ กับ
ธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ ถือเป็นการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8)
แห่งประมวลรัษฎากร หากการจ่ายตามสัญญารายหนึ่ง ๆ มีจำนวนตั้งแต่หนึ่งพันบาทขึ้นไป ผู้ใช้บริการมี
หน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ตามข้อ 12/1 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่
ท.ป.4/2528 ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.
104/2544 ฯ ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2544 และผู้ใช้บริการมีหน้าที่ต้องออก
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้กับธนาคารในทันทีทุกครั้งที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50
ทวิ (1) แห่งประมวลรัษฎากร
4. กรณีผู้ใช้บริการตาม 3. จ่ายค่าธรรมเนียมในการเรียกเก็บเงินตามเช็คต่างจังหวัดข้าม
เขตสำนักหักบัญชี (Bill for Collection) ให้กับธนาคารผู้รับฝากเช็คซึ่งธนาคารผู้รับฝากเช็คนำไป
จ่ายให้กับธนาคารผู้จ่าย ถือว่าธนาคารผู้รับฝากเช็คเป็นตัวแทนของผู้ใช้บริการซึ่งเป็น ผู้จ่ายเงิน
ธนาคารผู้รับฝากเช็คมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย จากธนาคารผู้จ่ายในอัตรา ร้อยละ 3.0 ตาม
ข้อ 12/1 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไข
เพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.104/2544 ฯ ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2544 และออก
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้กับธนาคารผู้จ่าย โดยใช้แบบพิมพ์หนังสือรับรอง การหักภาษี ณ
ที่จ่าย ของธนาคารผู้รับฝากเช็คซึ่งเป็นตัวแทน แต่จะต้องระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
ของผู้ใช้บริการด้วย และให้ธนาคารผู้รับฝากเช็คซึ่งเป็นตัวแทนส่งสำเนาหนังสือรับรองการหักภาษี ณ
ที่จ่ายให้กับผู้ใช้บริการ เพื่อผู้ใช้บริการจะได้นำไปยื่นรายการภาษี เงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามแบบ
ภ.ง.ด.53 ต่อไป กรณีดังกล่าว ผู้ใช้บริการไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย จากธนาคารผู้รับฝาก
เช็คอีก
เลขตู้: 64/31107


 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020