เมนูปิด

 

เลขที่หนังสือ: กค 0811/ก.130
วันที่: 6 สิงหาคม 2544
เรื่อง: การเร่งรัดภาษีอากรค้าง ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อกฎหมาย: มาตรา 12, มาตรา 1068 ประกอบมาตรา 1080, มาตรา 715, มาตรา 289,มาตรา 702
ข้อหารือ: จังหวัดภูเก็ตได้หารือปัญหาการเร่งรัดภาษีอากรค้าง ดังนี้
1. กรณีห้างหุ้นส่วนจำกัดได้รับหมายเรียกตามประมวลรัษฎากรหรือถูก
ตรวจปฏิบัติการตามหนังสือแจ้งการเข้าตรวจปฏิบัติการ ต่อมาห้างฯ ได้เปลี่ยนหุ้นส่วนผู้จัดการคนใหม่
เนื่องจากหุ้นส่วนผู้จัดการได้ออกจากการเป็นหุ้นส่วนของห้างฯ ต่อมาเจ้าพนักงานประเมินฯ ได้
ประเมินภาษีอากรสำหรับระยะเวลาที่หุ้นส่วนผู้จัดการคนเก่าดำรงตำแหน่งอยู่ และได้แจ้งการประเมินไป
ยังห้างฯ กรมสรรพากรจะเร่งรัดหนี้ภาษีอากรค้างกับหุ้นส่วนผู้จัดการคนเก่าได้หรือไม่
2. กรณีผู้ค้างภาษีมีบัญชีกระแสรายวันอยู่กับธนาคาร โดยเปิดวงเงิน
เบิกเกินบัญชีไว้จำนวน 2 ล้านบาท และผู้ค้างภาษีได้นำอสังหาริมทรัพย์ไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกัน
การชำระหนี้ในวงเงินจำนวนดังกล่าว แต่ผู้ค้างภาษีเบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารยังไม่เต็มวงเงิน
กรมสรรพากรจะอายัดเงินในส่วนที่เหลือของวงเงินเบิกเกินบัญชีนั้นได้หรือไม่
3. กรณีหากกรมสรรพากรได้ยึดทรัพย์สินที่ผู้ค้างภาษีได้นำไปจำนองต่อ
ธนาคารตามข้อ 1(2) แล้วนำมาขายทอดตลาดได้เงิน 2.2 ล้านบาท แต่ผู้ค้างภาษีมีหนี้จำนองอยู่ต่อ
ธนาคารเป็นเงินต้น 1.9 ล้านบาท ดอกเบี้ย 2.5 แสนบาท รวมเป็นหนี้จำนวนทั้งสิ้น 2.15 ล้านบาท
กรมสรรพากรจะต้องนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาด ไปชำระหนี้จำนองแก่ธนาคารไม่เกินวงเงิน 2
ล้านบาท หรือต้องชำระทั้งหนี้เงินต้นพร้อมดอกเบี้ยทั้งหมดจำนวน 2.15 ล้านบาท หากเหลือเงินเท่าใด
จึงจะนำมาชำระค่าภาษีอากร
สำนักงานสรรพากรภาค เห็นว่า ตามข้อ 1 กรมสรรพากรเร่งรัด
หนี้ภาษีอากรค้างกับหุ้นส่วนผู้จัดการคนเก่าได้ ตามข้อ 2 กรมสรรพากรอายัดสิทธิเรียกร้องของผู้ค้างภาษี
ได้หากได้รับความยินยอมจากธนาคาร และตามข้อ 3 กรมสรรพากรต้องนำเงินจากการขายทอดตลาด
ชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยทั้งหมดด้วย
แนววินิจฉัย: 1. กรณีตามข้อ 1 ห้างหุ้นส่วนจำกัดมีหนี้ภาษีอากรค้างที่เกิดขึ้นก่อนที่หุ้นส่วนผู้จัดการคนเก่า
ออกจากการเป็นหุ้นส่วนของห้างฯ กรมสรรพากรเร่งรัดหนี้ภาษีอากรค้างกับห้างฯ หุ้นส่วนผู้จัดการคนเก่า
และหุ้นส่วนผู้จัดการคนใหม่ได้ ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร ในส่วนของหุ้นส่วนผู้จัดการคนเก่ามี
ภาระความรับผิดในหนี้ของห้างฯ เพียง 2 ปี นับแต่เมื่อออกจากการเป็นหุ้นส่วนของห้างฯ ตามมาตรา
1068 ประกอบมาตรา 1080 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
2. กรณีตามข้อ 2 การเบิกเงินเกินบัญชีในวงเงินที่เหลือตามสัญญากับ
ธนาคารของผู้ค้างภาษีเป็นสิทธิเฉพาะตัว และเป็นการก่อหนี้มิใช่เกิดสิทธิเรียกร้องให้ได้รับชำระหนี้อันจะ
เป็นทรัพย์สินของผู้ค้างภาษี จึงไม่มีเงินที่จะเป็นทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีตามบัญชีของธนาคารที่
กรมสรรพากรจะดำเนินการอายัด ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากรได้
3. กรณีตามข้อ 3 เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้าง
ภาษีจำนวน 2.2 ล้านบาท จะต้องไปชำระหนี้จำนองพร้อมดอกเบี้ย จำนวน 2.15 ล้านบาท ตามมาตรา
715 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ก่อนตามลำดับแห่งบุริมสิทธิตามมาตรา 289 และมาตรา 702
วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เงินที่เหลือจากการชำระหนี้จำนองพร้อมดอกเบี้ยจึงจะ
นำมาชำระหนี้ภาษีอากร
เลขตู้: 64/30767


 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020