เมนูปิด

 

เลขที่หนังสือ: กค 0811/4130
วันที่: 2 พฤษภาคม 2544
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการหักภาษี ณ ที่จ่าย
ข้อกฎหมาย: มาตรา 40(2), มาตรา 65
ข้อหารือ: 1. บริษัท ภ. จำกัด ประกอบกิจการขายรถยนต์ ศูนย์บริการซ่อมบำรุงรักษารถยนต์และ
อะไหล่ นายหน้า เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2541 บริษัทฯ ได้ฝากขายรถยนต์ใช้แล้ว จำนวน 1 คัน กับ
บริษัท ว. (ประเทศไทย) จำกัด โดยมิได้มีหนังสือฝากขายแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นการร่วมแคมเปญ
USED CAR DAY เท่านั้น โดยสัญญาว่าจะมีค่านายหน้าคันละ 10,000 บาท ปรากฏว่าบริษัท ว. ได้
ติดต่อขายรถยนต์คันดังกล่าวให้กับบริษัท ส. จำกัด (มหาชน) บริษัทฯ จึงชำระค่านายหน้าให้กับบริษัท ว.
เป็นเงิน 9,500 บาท โดยหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 5% เป็นเงิน 500 บาท กรณีดังกล่าว บริษัทฯ ต้อง
หักภาษี ณ ที่จ่าย หรือไม่ อย่างไร
2. ธุรกรรมจากการขายสินค้ารถยนต์และอะไหล่นั้น บริษัทฯ สั่งซื้อสินค้าจากบริษัท ว. โดยมี
ข้อตกลงรับเงินสนับสนุนการขาย (เป้าการขาย) เป็นรายไตรมาสเงินสนับสนุน ดังกล่าว บริษัทฯ ได้ยื่น
งบการเงินประจำปีด้วย กรณีดังกล่าว บริษัท ว. ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือไม่ อย่างไร
แนววินิจฉัย: 1. กรณีที่บริษัทฯ ได้ฝากขายรถยนต์ใช้แล้ว จำนวน 1 คัน กับบริษัท ว. (ประเทศไทย)
จำกัด โดยมิได้มีหนังสือฝากขายแต่อย่างใด เพียงโดยสัญญาว่าจะมีค่านายหน้าคันละ 10,000 บาท นั้น
เข้าลักษณะเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ผู้จ่ายค่านายหน้าไม่มีหน้าที่หัก
ภาษี ณ ที่จ่าย เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติตามประมวลรัษฎากร ให้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้
2. กรณีที่บริษัทฯ ได้รับเงินสนับสนุนการขาย (เป้าการขาย) เป็นรายไตรมาส บริษัทฯ ต้อง
นำเงินสนับสนุนการขายดังกล่าวไปถือเป็นรายได้ในการคำนวณเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคล เนื่องจากเป็น
รายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร แต่เนื่องจากเงินสนับสนุน
การขายสินค้าดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นเงินได้จากธุรกิจ ตามมาตรา 40(8)แห่งประมวลรัษฎากร บริษัท
ว. (ประเทศไทย) จำกัด ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติตามประมวลรัษฎากรให้หัก
ภาษี ณ ที่จ่ายไว้
เลขตู้: 64/30450


 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020