เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/2551
วันที่: 15 มีนาคม 2544
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ
ข้อกฎหมาย: มาตรา 77/2
ข้อหารือ: บริษัท A. ประกอบกิจการขายสินค้าทั้งภายในประเทศและส่งออกไปต่างประเทศกรณีการทำ
ธุรกิจกับลูกค้าในต่างประเทศ บริษัทฯ จะติดต่อผู้ผลิตสินค้าที่ตั้งอยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออกเพื่อให้ผลิต
สินค้าเงื่อนไข FOB BANGKOK AIRPORT ซึ่งผู้ผลิตสินค้าในเขตอุตสาหกรรมส่งออกจะดำเนินพิธีการ
ศุลกากรส่งออกในเขตอุตสาหกรรมส่งออกจนถึงด่านศุลกากรที่ดอนเมือง ในการซื้อขายสินค้า ผู้ผลิตสินค้า
จะออกเอกสาร INVOICE ให้กับบริษัทฯ เป็นผู้ซื้อ พร้อมทั้งระบุชื่อลูกค้าในต่างประเทศเป็นผู้รับผิดชอบ
ในการรับสินค้า บริษัทฯไม่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ
แต่บริษัทฯออกเอกสาร INVOICE & PACKAGING ให้แก่ลูกค้าในต่างประเทศเรียกชำระราคาค่าสินค้า
และลูกค้าก็จะชำระเงินตามเงื่อนไขที่กำหนด เมื่อบริษัทฯได้รับชำระราคาค่าสินค้าจากลูกค้าใน
ต่างประเทศแล้ว ก็จะจ่ายชำระเงินคืนให้แก่ผู้ผลิตในเขตอุตสาหกรรมส่งออก บริษัทฯ หารือว่า จะต้อง
ดำเนินการอย่างไรให้ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร
แนววินิจฉัย: กรณีที่บริษัทฯ ส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักรเพื่อส่งไปต่างประเทศ เข้าลักษณะเป็นการขาย
สินค้า ตามมาตรา 77/1(8)(ค) และมาตรา 77/1(14) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯเป็นผู้ส่งออก
ตามมาตรา 77/1(13) แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่ง
ประมวลรัษฎากร โดยได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1(1) แห่ง
ประมวลรัษฎากร ซึ่งกรณีดังกล่าว กรมสรรพากรได้จัดทำคำอธิบายกฎหมายเพื่อใช้ในการศึกษา ค้นคว้า
อ้างอิง คือ คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.97/2543 ฯ ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ.2543
เลขตู้: 64/30286

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020