เมนูปิด

ผู้โดยสารและสัมภาระ


          1. ค่าจ้างที่บริษัทฯ ได้รับตามสัญญาดังกล่าวต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราใด และต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่


          2. ค่าตอบแทนที่บริษัทฯ จ่ายให้แก่ผู้ว่าจ้างทุกเดือนจำนวน 1,500,000.- บาท เป็นรายได้ที่ผู้ว่าจ้างต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ และต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราใด

ผู้จ่ายเงินได้ดังกล่าวจึงมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0 ตามข้อ 12/4 (2) ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528ฯ และกรณีเป็นการให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร

จึงได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ณ) แห่งประมวลรัษฎากร


          2. กรณีบริษัทฯ จ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่บริษัท การบินฯ เป็นเงินรายเดือนเดือนละ 1,500,000 บาท เพื่อเป็นค่าตอบแทนในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการขนส่งนั้น เข้าลักษณะเป็นการจ่ายเงินค่าบริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร จึงอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร และบริษัทฯ ผู้จ่ายมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายโดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 3.0 ตามข้อ 12/1 (2) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ

เลขที่หนังสือ: กค 0706/1525
วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2548
เรื่อง: ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีสัญญาจ้างบริการรถยนต์เพื่อบริการรับส่ง
ประเด็นปัญหา: มาตรา 81(1)(ณ)
            บริษัทฯ (ผู้รับจ้าง) ได้ทำสัญญาจ้างบริการรถยนต์ (พร้อมพนักงานขับรถ) เพื่อบริการรับส่งผู้โดยสารและสัมภาระ กับบริษัท การบินแห่งหนึ่ง (ผู้ว่าจ้าง) โดยบริษัทฯ ทำหน้าที่รับส่งผู้โดยสารและสัมภาระระหว่างท่าอากาศยานกรุงเทพฯ กับที่พักอาศัยในกรุงเทพมหานครหรือจุดหมายปลายทางตามความประสงค์ของผู้โดยสาร ค่าบริการที่เรียกเก็บจากผู้โดยสารเป็นไปตามความตกลงของคู่สัญญาเห็นชอบร่วมกัน บริษัทฯ ได้รับค่าจ้างจากผู้ว่าจ้าง ในอัตราร้อยละ 62 ของรายได้จากค่าบริการรับส่งผู้โดยสาร และบริษัทฯ ตกลงชำระค่าตอบแทนให้แก่ผู้ว่าจ้างเดือนละ 1,500,000.- บาท บริษัทฯ จึงหารือดังนี้
แนววินิจฉัย          1. กรณีบริษัทฯ ได้ทำสัญญากับบริษัท การบินฯ เพื่อให้บริการรับขนส่งผู้โดยสารและสัมภาระตามข้อเท็จจริง โดยรถยนต์ที่ใช้ในการให้บริการดังกล่าวยังคงอยู่ในความครอบครองของบริษัทฯ และมิได้มีการให้บริการอื่นอีกนอกจากการขนส่งผู้โดยสารและสัมภาระ เข้าลักษณะเป็นสัญญาให้บริการขนส่งตามมาตรา 608 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บริษัท การบินฯ
เลขตู้: 68/33319

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020