เมนูปิด

บิดามารดา


          2. เนื่องจากได้มีการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้สุทธิส่วนที่ไม่เกิน 100,000 บาทแรกในปีภาษีนั้น สำหรับเงินได้สุทธิที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2547 เป็นต้นไป ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 430) พ.ศ.2548 ดังนั้น ผู้มีเงินได้ในปีภาษีเมื่อได้คำนวณหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนตามกฎหมายแล้ว ในส่วนที่เป็นเงินได้สุทธิ 100,000 บาทแรกได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เฉพาะเงินได้สุทธิส่วนที่เกิน 100,000 บาท เท่านั้นที่ต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราร้อยละ 10 เช่น กรณีผู้มีเงินได้สุทธิ 100,001 บาท เงินได้สุทธิ 100,000 บาทแรก ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เฉพาะเงินได้สุทธิ จำนวน 1 บาทที่ต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราร้อยละ 10 มิใช่คำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราร้อยละ 10 จากเงินได้สุทธิทั้งจำนวน 100,001 บาท

เลขที่หนังสือ: กค 0706/1521
วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2548
เรื่อง: ขอให้เร่งออกกฎหมายเกี่ยวกับการหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้อุปการะเลี้ยงดู
ประเด็นปัญหา: พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 430) พ.ศ. 2548, ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 136)ฯ
            ขอทราบว่ากฎหมายภาษีลูกกตัญญูจะบังคับใช้ในปี พ.ศ.2547 นี้หรือไม่ และขอให้กระทรวงการคลังพิจารณาแก้ไขกฎหมายภาษีเกี่ยวกับอัตราการเสียภาษีใหม่เพราะในปัจจุบันคนที่มีเงินได้สุทธิ 100,001 บาท ต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10 ซึ่งถือว่าสูงมาก
แนววินิจฉัย          1. ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้คนละสามหมื่นบาทได้สำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปี พ.ศ.2547 ที่จะต้องยื่นรายการในปี พ.ศ.2548 เป็นต้นไป หากเข้าลักษณะตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 136) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ตามมาตรา 47(1)(ญ) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 68/33321

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020