เมนูปิด


          1. บริษัทฯ กู้เงินจากนิติบุคคลต่างประเทศเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบกิจการ และในระหว่างปี 2544 ได้ชำระค่าดอกเบี้ยเงินกู้ยืมดังกล่าวเป็นจำนวนเงิน

6,001,869.22 บาท โดยการจ่ายดอกเบี้ยดังกล่าวให้แก่นิติบุคคลต่างประเทศ บริษัทฯ ได้หักภาษี

ตามมาตรา 70 และนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/6 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ได้นำภาษี

มูลค่าเพิ่มที่นำส่งดังกล่าวมาเป็นภาษีซื้อและได้ขอคืนภาษีซื้อรวมทั้งยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) เพิ่มเติม สำหรับเดือนภาษีกุมภาพันธ์ 2544 แล้ว


          2. เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2545 เจ้าพนักงานสรรพากรสำนักงานสรรพากรพื้นที่

ได้เข้าตรวจปฏิบัติการสถานประกอบการและตรวจปฏิบัติการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเดือนภาษีมีนาคม 2542 (ยื่นเพิ่มเติม) และเดือนภาษีกุมภาพันธ์ 2544 (ยื่นเพิ่มเติม) และได้ประเมินภาษีเนื่องจากพบว่า บริษัทฯ ได้นำภาษีมูลค่าเพิ่มที่นำส่งเมื่อมีการชำระดอกเบี้ยแก่นิติบุคคลต่างประเทศมาขอคืนภาษีซื้อ จึงเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร และได้มีการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีดังกล่าว เนื่องจากยื่นภาษีซื้อไว้เกินและชำระภาษีคลาดเคลื่อน ตามหนังสือแจ้งการประเมินเลขที่ 6760020/5/100429 ลงวันที่ 27 เมษายน 2547 เป็นเงิน 907,396.32 บาท (ไม่รวมเงินเพิ่มตามกฎหมาย) และบริษัทฯ ได้รับคำแนะนำว่าหากบริษัทฯ ประสงค์จะขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้นำส่งไว้แล้วคืนจะต้องยื่นคำร้องขอคืนตามแบบคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร (ค.10) เท่านั้น บริษัทฯ จึงได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานดังกล่าวเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2547 และได้ชำระภาษีและเงินเพิ่มตามเอกสารใบแจ้งการประเมินแล้วบางส่วนเป็นเงินจำนวน 353,055.77 บาท พร้อมทั้งยื่นอุทธรณ์ของดเบี้ยปรับ ณ สำนักงานสรรพากรภาค เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2547 ต่อมา บริษัทฯ ได้รับหนังสือแจ้งไม่คืนเงินภาษีอากร ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2547จากสำนักงานสรรพากรพื้นที่ โดยแจ้งว่า บริษัทฯ ยื่นคำร้องขอคืนภาษีอากรเกินเวลาที่กฎหมายกำหนด

เลขที่หนังสือ: กค 0706/พ./513
วันที่: 20 มกราคม 2548
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ประเด็นปัญหา: มาตรา 27 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
            บริษัท ก. จำกัด ได้ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 28 มิถุนายน 2547 ขอขยายระยะเวลาการขอคืนและของดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยมีข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้
แนววินิจฉัย          กรณีดังกล่าว บริษัทฯ ได้นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มโดยไม่มีหน้าที่ต้องนำส่ง การขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว บริษัทฯ ต้องยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการ ตามมาตรา 27 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 68/33288

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020