เมนูปิด

หนังสือพิมพ์ต่างประเทศ

ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของฮ่องกง ให้จัดตั้งสำนักกองบรรณาธิการ (Editing Bureau) ขึ้นในประเทศไทย โดยมีข้อเท็จจริงสรุปได้ดังนี้

          (1) บริษัท B มีสำนักงานอยู่ที่ฮ่องกง ประกอบธุรกิจหนังสือพิมพ์โดยเป็นเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ที่มียอดขายเป็นอันดับหนึ่งของฮ่องกง และเป็นอันดับสองในทวีปเอเซีย

          (2) บริษัท B มีความประสงค์จะจัดตั้งสำนักกองบรรณาธิการ (Editing Bureau)

ในประเทศไทย โดยไม่ประสงค์จะจัดตั้งเป็นนิติบุคคลหรือองค์กรธุรกิจใด ๆ ภายใต้กฎหมายไทย

สำนักกองบรรณาธิการดังกล่าว จะจ้างบรรณาธิการ (Editors) เป็นชาวต่างประเทศทั้งหมดจำนวนประมาณ 12 คน และพนักงานคนไทยอีกจำนวน 2 คน เพื่อเป็นล่ามแปลเอกสารและดูแลงานสำนักงาน


          (3) สำนักกองบรรณาธิการจะได้รับบทความจากสำนักงานใหญ่ในฮ่องกงผ่านสื่อ

อีเล็กทรอนิกส์ ซึ่งข่าวเหล่านี้เขียนหรือประมวลขึ้นโดยผู้เขียนข่าวท้องถิ่นในฮ่องกง ซึ่งมีทักษะภาษาอังกฤษค่อนข้างจำกัด ซึ่งบรรณาธิการที่มีความรู้ในภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี จะทำการตรวจแก้ไขคำสะกดและการใช้หลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษที่ใช้ในบทความให้ถูกต้อง แล้วจึงส่งกลับไปยัง

สำนักงานใหญ่ในฮ่องกงเพื่อจัดรูปหน้าและตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์รายวันของบริษัท B ต่อไป โดยสำนักกองบรรณาธิการในประเทศไทยนี้ จะไม่ทำกิจกรรมอื่นใดอีก ไม่ว่าจะเป็นการหาข่าว หรือ

รายงานข่าวในประเทศไทย หรือติดต่อการค้าหรือธุรกิจกับลูกค้าหรือผู้ใด หรือทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิด

รายได้ในประเทศไทยแต่อย่างใด ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของสำนักกองบรรณาธิการในประเทศไทย เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ฯลฯ ทางสำนักงานใหญ่ในฮ่องกงจะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งสิ้นโดยจะส่งเงินมาให้สำนักกองบรรณาธิการใช้จ่ายในประเทศ

          2. กรณีสำนักกองบรรณาธิการได้รับเงินจากสำนักงานใหญ่ เพื่อจ่ายค่าจ้างให้พนักงานชาวต่างประเทศและชาวไทย ถือว่าเงินได้ที่พนักงานได้รับเป็นเงินได้จากหน้าที่งานที่ทำในประเทศไทย พนักงานจึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทยไม่ว่า

เงินได้นั้นจะได้จ่ายในหรือนอกประเทศ ตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร และสำนักกองบรรณาธิการซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร นอกจากนั้น ในกรณีที่สำนักกองบรรณาธิการ จ่ายเงินได้ที่อยู่ในบังคับต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากร สำนักกองบรรณาธิการ มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามกฎหมายดังกล่าวด้วย

เลขที่หนังสือ: กค 0706/3090
วันที่: 20 เมษายน 2548
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีภาระภาษีของสำนักกองบรรณาธิการสำหรับ
ประเด็นปัญหา: มาตรา 77/2, มาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
           บริษัท ก. จำกัด (“บริษัทฯ”) ได้รับมอบหมายจากลูกความรายหนึ่ง คือ บริษัท B
แนววินิจฉัย          1. กรณีที่บริษัท B จัดตั้งสำนักกองบรรณาธิการ (Editing Bureau) ตามข้อเท็จจริงดังกล่าว หากพนักงานของสำนักกองบรรณาธิการ (Editing Bureau) เพียงแต่ทำการแปลและตรวจคำสะกดและหลักไวยากรณ์ของข่าวที่ส่งมาจากต่างประเทศโดยมิได้ดำเนินการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดเงินได้ในประเทศไทยแก่ บริษัท B กรณีดังกล่าวยังไม่ถือว่าบริษัท B ประกอบกิจการในประเทศไทย ตามมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และไม่เข้าลักษณะเป็นการขายสินค้าหรือการให้บริการโดยประกอบการในประเทศไทยตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัท B จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทย
เลขตู้: 68/33377

 

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020