เมนูปิด

 

เลขที่หนังสือ: กค 0706/7020
วันที่: 22 สิงหาคม 2548
เรื่อง: ขอความอนุเคราะห์ให้พิจารณาเข้าเงื่อนไขการยกเว้นรัษฎากร ตามพระราชกฤษฎีกาฯ ( ฉบับที่ 433) พ.ศ.2548
ข้อกฎหมาย: ประเด็นปัญหา พรฎ.(ฉบับที่ 433)
ข้อหารือ:         นาง ม. ปัจจุบันเป็นลูกหนี้ของกองทุนรวมฯ เป็นจำนวนหนี้สุทธิ 1,515,662.99 บาท หนี้ดังกล่าวเกิดขึ้นจากการจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับบริษัทเงินทุนในปี 2539 ซึ่งต่อมาในปี 2540บริษัทฯ ได้ถูกปิดกิจการตามพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 และได้ถูกกำหนดให้คณะกรรมการ องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน ( ปรส .)มีอำนาจในการจัดการขายหนี้รายนี้ให้แก่กองทุน รวม ฯ ดังกล่าว ในปี 2541 และหนี้รายดังกล่าวเคยอยู่ในสถานะหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เนื่อง จากสภาวะทางเศรษฐกิจ
          นาย ก. มีความประสงค์ที่จะรับโอนอสังหาริมทรัพย์ที่นำมาจำนองเป็นประกันหนี้ของ
เจ้าหนี้และชี้แจงไปยังกองทุนรวมฯ เพื่อขอหนังสือรับรองการโอนอสังหา ริมทรัพย์ของนาง ม. ให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน เพื่อนำเงินที่ได้จากการโอนอสังหาริมทรัพย์ไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ แต่ได้รับการปฏิเสธจากกองทุนรวมฯว่าเป็นกรณีที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ได้รับยกเว้นภาษี เนื่องจากกองทุน รวมฯ ไม่ใช่สถาบันการเงินตามความหมายของพระราชกฤษฎีกาฯ ( ฉบับที่ 433) พ.ศ.2548
          นาย ก. จึงขอความอนุเคราะห์ให้กรมสรรพากรพิจารณารับรองสิทธิของนาง ม. เพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรตามมาตรา 9 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ ( ฉบับที่ 433) พ.ศ.2548
แนววินิจฉัย:         กรณีนาง ม. เดิมเป็นหนี้จำนองกับบริษัทเงินทุน ซึ่งต่อมาในปี 2540 ได้ถูกปิดกิจการตามพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540และได้กำหนดให้คณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน ( ปรส .) มีอำนาจในการบริหารทรัพย์สินของสถาบันการเงินดังกล่าว ซึ่งกองทุนรวมฯ ได้ประมูลหนี้รายนี้ได้ ปัจจุบันนาง ม. เป็นลูกหนี้กองทุนรวมดังกล่าวจำนวน 1,515,662.99 บาท และนาย ก. มีความประสงค์ที่จะรับโอนอสังหาริมทรัพย์ของนาง ม. ที่นำมาจำนองเป็นประกันหนี้ของเจ้าหนี้กอง ทุนรวมฯ เพื่อนำเงินที่ได้จากการโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวไปชำระหนี้ให้แก่กองทุนรวมฯเพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรตามมาตรา 9 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ ( ฉบับที่ 433) พ.ศ.2548 
           แต่เนื่องจากกองทุนรวมไม่ได้รวมอยู่ในความหมายของคำว่า “ สถาบัน การเงิน ” ซึ่งได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ ( ฉบับที่ 433) พ.ศ.2548 กรณี ดังกล่าวจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์การยกเว้นภาษีอากร สำหรับจำนวนเงินที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ที่นำมาจำนองเป็นประกันหนี้ให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบัน การเงิน ดังนั้น นาง ม. จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีอากร สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอน อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวตาม
เลขตู้: 68/33523

 

 

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020