เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0706/พ./495
วันที่: 20 มกราคม 2549
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีให้บริการขนส่งน้ำมันจากแท่นขุดเจาะด้านทะเลอ่าวไทย
ข้อกฎหมาย: มาตรา 81(1)(ณ) มาตรา 82/5(6)
ข้อหารือ: บริษัทฯ ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบกิจการขนส่งน้ำมันทางทะเล ได้ให้บริการขนส่งน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมให้กับ ปตท. โดยนำเรือของบริษัทฯ จดทะเบียนเป็นเรือไทย
ไปบรรทุกน้ำมันจากแท่นขุดเจาะด้านทะเลอ่าวไทย ไปขึ้นยังท่าเรือ จังหวัดระยอง และจังหวัดชลบุรี เพื่อส่งให้โรงกลั่นน้ำมันที่อยู่ในเครือของ ปตท.ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ภ.พ.30) บริษัทฯ เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 และได้นำภาษีซื้อที่เกิดจากการประกอบกิจการมาขอคืนภาษีทั้งจำนวน เนื่องจากเข้าใจว่า เป็นกิจการขนส่งทางทะเลระหว่าง
ประเทศ
แนววินิจฉัย: กรณีตามข้อเท็จจริงแท่นขุดเจาะด้านทะเลอ่าวไทย ตั้งอยู่ภายในบริเวณเขตไหล่ทวีป เป็นอาณาเขตของประเทศไทยตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ยอมรับนับถือกันโดยทั่วไป เมื่อบริษัทฯ
ให้บริการขนส่งน้ำมันดิบจากแท่นขุดเจาะด้านทะเลอ่าวไทยด้วยเรือของบริษัทฯ ไปขึ้นฝั่งท่าเรือภายในประเทศ ถือได้ว่า เป็นการให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร บริษัทฯ ได้รับยกเว้นภาษี
มูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(1)(ณ) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายของกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงเป็นภาษีซื้อต้องห้าม บริษัทฯ ไม่มีสิทธินำไปหัก
ออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(3) ของประกาศ
อธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42)ฯ ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ.2535
เลขตู้: 69/33834

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020