เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0706/พ./2332
วันที่: 20 มีนาคม 2549
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการประกอบกิจการประเภทที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ได้จดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยสำคัญผิด
ข้อกฎหมาย: มาตรา 81(1)(ก) และมาตรา 81/3(1) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ:          บริษัทฯ ประกอบกิจการส่งออก ขายส่ง ผลิตผลทางการเกษตร จดทะเบียนเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2544 และจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มวันที่ 10 กันยายน 2544 ตั้งแต่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มบริษัทฯ ยังไม่ได้ประกอบกิจการซื้อขายสินค้า โดยยื่นแบบ ภ.พ.30 แสดงยอดซื้อและยอดขายเป็น 0 มาโดยตลอด ในปี 2546 บริษัทฯ เริ่มประกอบกิจการซื้อและขายสินค้า รวมทั้งส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ สำหรับการขายสินค้าภายในประเทศ บริษัทฯ ได้ออกเอกสารเป็นใบกำกับสินค้า (invoice) โดยมิได้ออกใบกำกับภาษี และมิได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อ บริษัทฯ ยื่นแบบ ภ.พ.30 แสดงยอดขายที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มมาตลอดตั้งแต่เดือนภาษีมกราคม 2546 จนถึงปัจจุบัน ส่วนยอดซื้อและภาษีซื้อที่ได้ขอคืนไว้ในแบบดังกล่าวเป็นรายจ่ายเกี่ยวกับค่าบรรจุภัณฑ์ เช่น ถุงพลาสติก กล่องโฟม ค่าก่อสร้างอาคารสำนักงานและโรงงาน รวมทั้งค่าสาธารณูปโภคอื่นๆ เป็นต้น เหตุที่บริษัทฯ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจาก บริษัทฯ เข้าใจว่า ต้องกรอกรายละเอียดของกิจการทั้งหมดตามความเป็นจริงไว้ในแบบ ภ.พ.01 และบริษัทฯ สำคัญผิดว่า การขายสินค้าเกษตรที่ได้จดทะเบียนไว้เดิมได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(1)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร
           บริษัทฯ ได้ยื่นแบบคำขอเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.09 และหนังสือของบริษัทฯ ลงวันที่ 19 กันยายน 2548 ขอลดประเภทกิจการที่จดทะเบียนไว้เดิม ขายส่ง ส่งออก ผลิตผลทางการเกษตร คงเหลือเพียงส่งออกสินค้าเกษตร สินค้าอุปโภค บริโภค และบริการรับห่อสินค้าเกษตรโดยให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่เริ่มจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม วันที่ 10 กันยายน 2544 พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลว่า บริษัทฯ ขายสินค้าเกษตรจะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย ในการจดทะเบียนจึงระบุรายละเอียดของการประกอบกิจการตามที่ได้ดำเนินการไว้ในแบบ ภ.พ.01 ฉะนั้น เมื่อมีการขายสินค้าในประเทศจึงมิได้ออกใบกำกับภาษีขาย และมิได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด เมื่อยื่นแบบ ภ.พ.30 บริษัทฯ กรอกยอดขายทั้งหมดเป็นยอดขายที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งจำนวนิ่มหรือไม่
แนววินิจฉัย:           บริษัทฯ ประกอบกิจการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ และขายส่งในประเทศ ผลิตผลทางการเกษตร สินค้าอุปโภค บริโภค และรับห่อสินค้าเกษตร บริษัทฯ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) โดยเข้าใจว่า ต้องระบุรายละเอียดทั้งหมดของการประกอบกิจการ ซึ่งกรณีการขายพืชผลทางการเกษตรได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ไม่มีเจตนาจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในกรณีของการขายผลิตผลทางการเกษตรภายในประเทศ ซึ่งเมื่อมีการขายสินค้าดังกล่าวบริษัทฯ จึงมิได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อ และในการยื่นแบบ ภ.พ.30 บริษัทฯ ก็แสดงยอดขายเป็นยอดขายที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มมาตลอด การแจ้งประเภทการประกอบกิจการขายผลิตผลทางการเกษตรภายในประเทศตามแบบคำขอจด ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) จึงเป็นการแจ้งโดยสำคัญผิด และมิใช่เป็นการแจ้งต่ออธิบดีเพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81/3(1) แห่งประมวลรัษฎากร จึงอนุมัติให้ลดประเภทกิจการขายสินค้าผลิตผลทางการเกษตรภายในประเทศให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน 2544 เป็นต้นไป
เลขตู้: 69/33998

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020