เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค0706(กม.01)/370
วันที่: 23 มีนาคม 2549
เรื่อง:ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการเครดิตภาษีเงินปันผล
ข้อกฎหมาย: มาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ:
            บริษัทฯ จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทมหาชน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2544 ซึ่งเป็นการแปรรูปกิจการมาจาก ป. ภายใต้พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 บริษัทฯ ได้รับโอนกิจการสิทธิ หนี้ ความรับผิด ส่วนของทุนและพนักงานทั้งหมดจาก ป. โดย ป. มีส่วนของทุน ณ 30 กันยายน 2544 รวมจำนวน 33,630,322,897 บาท และบริษัทฯ ได้บันทึกบัญชีส่วนของผู้ถือหุ้น ดังน่
                 (1) ทุนจดทะเบียน 20,000,000,000.- บาท
                 (2) กำไรสะสมที่จัดสรรแล้ว 2,465,594,726.- บาท
                 (3) กำไรสะสมที่ยังไม่จัดสรร 11,164,728,171.- บาท
                  รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 33,630,322,897.- บาท
            กำไรสะสมที่ยังไม่จัดสรร จำนวน 11,164,728,171.-บาท เป็นส่วนที่บริษัทฯ กันไว้เพื่อการดำเนินกิจการและพิจารณาจ่ายเงินปันผล และเป็นส่วนที่ยังไม่ได้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เนื่องจากเป็นกำไรสะสมที่โอนมาจาก ป.
            ตามมติการประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 2/2544 เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2544 บริษัทฯ กำหนดจ่ายเงินปันผล สำหรับผลประกอบการปี 2544 ในอัตรา 2.00 บาท ต่อหุ้น และบริษัทฯ ได้จัดทำหนังสือชี้ชวนเพื่อเสนอขายหลักทรัพย์ โดยกำหนดสิทธิประโยชน์ เรื่อง นโยบายการจ่ายเงินปันผล ตามมติดังกล่าวในหนังสือชี้ชวนด้วย ซึ่งในขณะที่มีมติการประชุมคณะกรรมการ บริษัทฯ ยังไม่ทราบผลกำไรของการประกอบกิจการสำหรับรอบบัญชี 1 ตุลาคม 2544 - 31 ธันวาคม 2544 แต่อย่างใด
            เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2544 บริษัทฯ ได้เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
            ต่อมา บริษัทฯ มีมติการประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 3/2545 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2545 ให้ทบทวนการจ่ายเงินปันผล สำหรับผลประกอบการปี 2544 จากการจ่ายเงินปันผลในอัตรา 2.00 บาท ต่อหุ้น เป็น 2.50 บาท ต่อหุ้น และเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2545 การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2545 ได้มีมติให้อนุมัติจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นสำหรับผลประกอบการปี 2544 ในอัตรา 2.50 บาท ต่อหุ้น โดยกำหนดจ่ายภายในวันที่ 20 พฤษภาคม 2545
            บริษัทฯ จ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นสามัญ จำนวน 2,797,245,725 หุ้น อัตรา 2.50 บาท ต่อหุ้น เป็นเงินปันผลทั้งสิ้น 6,993,114,312.50 บาท
            ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ในรอบบัญชีปี 2544 มีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 21,611,898,798 ล้านบาท ประกอบด้วย
            ผลประกอบการของ ป. งวด 9 เดือน (ม.ค.-ก.ย.44) กำไรสุทธิ 18,658,461,212 ล้านบาท
            ผลประกอบการของ บริษัทฯ งวด 3 เดือน (ต.ค.-ธ.ค.44) กำไรสุทธิ 2,953,437,586 ล้านบาท
            บริษัทฯ ในฐานะผู้จ่ายเงินได้ (เงินปันผล) ได้ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ผ่านบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะนายทะเบียนโดยแสดงจำนวนเงินที่จ่ายภาษีที่หักและนำส่งไว้ และคงเหลือจ่ายจริงในรายการ (ก) กิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 30 ของกำไรสุทธ
แนววินิจฉัย:            1. การเครดิตภาษีเงินปันผลตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น หากปรากฏข้อเท็จจริงว่า เงินปันผลเฉพาะส่วนที่บริษัทฯ จ่ายในอัตรา 2.00 บาทต่อหุ้น ตามมติการประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 2/2544 เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2544 และตามประกาศในหนังสือชี้ชวนเสนอขายหลักทรัพย์เป็นเงินปันผลที่คำนวณจ่ายจากกำไรสะสมที่เกิดจากผลประกอบการของ ป. ซึ่งเป็นกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล บุคคลธรรมดาที่ได้รับเงินปันผลไม่ได้รับสิทธิเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
            2. กรณีบริษัทฯ แสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายไม่ถูกต้องและผู้มีเงินได้นำไปใช้เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยเครดิตภาษีที่คำนวณได้มีจำนวนเกินกว่าที่ผู้มีเงินได้พึงได้รับ ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้มีเงินได้ได้รับเงินภาษีคืนเกินไปหรือชำระภาษีไว้ไม่ครบถ้วน บริษัทฯ ต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ตามจำนวนเงินภาษีที่ได้รับคืนเกินไปหรือเงินภาษีที่ชำระไว้ไม่ครบถ้วนตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ กรมสรรพากรยังได้วางแนวทางปฏิบัติไว้ตามข้อ 18 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.119/2545 เรื่อง การเครดิตภาษีเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
เลขตู้: 69/34024

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020