เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0706/พ./8409
วันที่: 6 ตุลาคม 2549
เรื่อง:        ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีขอเฉลี่ยภาษีซื้อ
ข้อกฎหมาย:       มาตรา 82/6 มาตรา 77/2 และมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ

:      1. บริษัทฯ จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2544 และจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2544 มีรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี ประกอบกิจการนายหน้ารับประกันวินาศภัยตรง (เป็นนายหน้าให้กับบริษัทประกันภัยในประเทศ กับลูกค้าผู้เอาประกันภัยในประเทศ) บริษัทฯ มีรายได้จากค่านายหน้าที่ได้รับจากบริษัทประกันภัย ในประเทศ นอกจากนี้บริษัทฯ ยังรับประกันภัยต่อให้กับบริษัทประกันภัยทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ
      2. บริษัทฯ มีรายได้ที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของรายได้ของ กิจการทั้งหมด ซึ่งบริษัทฯ มีสิทธิเลือกไม่นำภาษีซื้อทั้งจำนวนไปหักออกจากภาษีขาย แต่ให้นำไป รวมคำนวณเป็นมูลค่าต้นทุนทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการ แต่ในปีที่ผ่านมาในรอบระยะเวลา บัญชีตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2545 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2546 บริษัทฯ ได้ยื่นรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) โดยได้เฉลี่ยภาษีซื้อและนำไปหักออกจากภาษีขายไว้แล้ว เนื่องจากไม่เข้าใจข้อกฎหมาย จึงได้ทำการเฉลี่ยภาษีซื้อ ดังนั้น เพื่อความสะดวกในการจัดทำรายงานภาษีซื้อและการยื่นแบบ ภ.พ.30 ของบริษัทฯ ในอนาคต บริษัทฯ จึงมีความประสงค์ที่จะขอเลือกไม่นำภาษีซื้อทั้งจำนวน ไปหักออกจากภาษีขายตามข้อ 3(2) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29) เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อตามมาตรา 82/6 แห่ง ประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2535
      3. บริษัทฯ จะมีรายได้จากค่านายหน้าโดยได้รับค่านายหน้าจากการรับประกันวินาศภัย ทั้งในประเทศและต่างประเทศดังนี้
      3.1 การรับประกันภัย บริษัทฯ มีรายได้ค่านายหน้าจากการหาลูกค้าให้กับบริษัทประกันภัย ในประเทศ อัตราค่านายหน้าเป็นไปตามที่กรมการประกันภัยกำหนด ซึ่งรายได้ส่วนนี้บริษัทฯ ได้ นำมารวมคำนวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0
      3.2 การรับประกันภัยต่อบริษัทฯ ได้ดำเนินการเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
      3.2.1 บริษัทฯ เป็นนายหน้าหาลูกค้าให้กับบริษัทรับประกันภัยต่อในต่างประเทศ ซึ่งลูกค้าจะเป็นบริษัทประกันภัยในประเทศที่ต้องการกระจายความเสี่ยง และยังมีหน้าที่เรียกเก็บ เบี้ยประกันภัยจากบริษัทประกันภัยในประเทศนำส่งเบี้ยประกันภัยดังกล่าวให้กับบริษัทรับประกันภัย ต่อในต่างประเทศ โดยบริษัทฯ จะได้รับค่านายหน้าจากบริษัทรับประกันภัยต่อในต่างประเทศ ตาม อัตราที่ตกลงกันตามประเภทของกรมธรรม์
      3.2.2 บริษัทฯ เป็นนายหน้าหาลูกค้าให้กับบริษัทรับประกันภัยต่อในต่างประเทศ โดยลูกค้าจะเป็นบริษัทประกันภัยในต่างประเทศที่ต้องการซื้อประกันคุ้มครองความเสี่ยง (ทั้งสอง บริษัทอยู่ในต่างประเทศ) และยังมีหน้าที่เรียกเก็บเบี้ยประกันภัยจากบริษัทรับประกันภัยที่ทำประกัน แล้วนำส่งเบี้ยประกันภัยให้กับบริษัทรับประกันภัยต่อในต่างประเทศ โดยบริษัทฯ ได้รับค่านายหน้า จากบริษัทรับประกันภัยต่อในต่างประเทศ

แนววินิจฉัย

:      กรณีบริษัทฯ ประกอบกิจการเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยมีรายได้ค่านายหน้าจากการหา ลูกค้าให้กับบริษัทประกันภัยภายในประเทศ และประกอบกิจการรับเป็นนายหน้าให้กับบริษัท รับประกันภัยต่อในต่างประเทศไปยังต่างประเทศ มีภาระภาษีมูลค่าเพิ่มแยกพิจารณาได้ดังนี้
      1. กรณีบริษัทฯ ประกอบกิจการเป็นนายหน้าหาลูกค้าให้กับบริษัทประกันภัยภายในประเทศ การประกอบกิจการดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการให้บริการในราชอาณาจักร อยู่ในบังคับต้องเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคำนวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ทั้งนี้ ตามมาตรา 77/1(10) มาตรา 77/2(1) และมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร
      2. กรณีบริษัทฯ เป็นนายหน้าหาลูกค้าให้กับบริษัทรับประกันภัยต่อในต่างประเทศซึ่งลูกค้า จะเป็นบริษัทประกันภัยในประเทศที่ต้องการกระจายความเสี่ยง และยังมีหน้าที่เรียกเก็บเบี้ย ประกันภัยจากบริษัทประกันภัยในประเทศนำส่งเบี้ยประกันภัยดังกล่าวให้กับบริษัทรับประกันภัย ต่อในต่างประเทศ โดยบริษัทฯ จะได้รับค่านายหน้าจากบริษัทรับประกันภัยต่อในต่างประเทศ ตาม อัตราที่ตกลงกันตามประเภทของกรมธรรม์ การประกอบกิจการดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการให้บริการ ในราชอาณาจักร จึงอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคำนวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ทั้งนี้ ตามมาตรา 77/1(10) มาตรา 77/2 (1) และมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร
      3. กรณีบริษัทฯ เป็นนายหน้าหาลูกค้าให้กับบริษัทรับประกันภัยต่อในต่างประเทศ โดยลูกค้า จะเป็นบริษัทประกันภัยในต่างประเทศที่ต้องการซื้อประกันคุ้มครองความเสี่ยง (ทั้งสองบริษัทอยู่ใน ต่างประเทศ) และยังมีหน้าที่เรียกเก็บเบี้ยประกันภัยจากบริษัทรับประกันภัยที่ทำประกันแล้วนำส่ง เบี้ยประกันภัยให้กับบริษัทรับประกันภัยต่อในต่างประเทศ โดยบริษัทฯ ได้รับค่านายหน้าจากบริษัท รับประกันภัยต่อในต่างประเทศ การประกอบกิจการดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการให้บริการใน ราชอาณาจักร จึงอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร แต ่เนื่องจากเป็นกรณีที่บริษัทฯ เป็นนายหน้าให้แก่ผู้ประกอบการในต่างประเทศ และผู้ประกอบการ ในต่างประเทศดังกล่าวได้ให้บริการแก่ผู้รับบริการในต่างประเทศด้วยกัน บริษัทฯ จึงไม่ต้องนำ ค่านายหน้าที่ได้รับจากบริษัทประกันภัยต่อในต่างประเทศดังกล่าวมารวมเป็นมูลค่าของฐานเพื่อ เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(3) ของประกาศอธิบดี กรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่องกำหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทน ที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2535 ดังนั้น กรณีตาม 1 2 และ 3 จึงเป็นกรณีที่บริษัทฯ ประกอบกิจการให้บริการในราชอาณาจักร ซึ่งอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ สินค้าหรือรับบริการมาเพื่อใช้ในกิจการดังกล่าว จึงเป็นภาษีซื้อที่นำไปใช้ในกิจการประเภทที่ต้อง เสียภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทเดียว ซึ่งไม่ต้องเฉลี่ยภาษีซื้อตามมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร จึง ไม่มีกรณีที่จะต้องพิจารณาในประเด็นการขออนุมัติไม่ขอเฉลี่ยภาษีซื้อตามที่บริษัทฯ ร้องขอมา แต่อย่างใด

เลขตู้:69/34560

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020