เมนูปิด
เลขที่หนังสือ: กค 0702/พ./262
วันที่: 15 มกราคม 2552
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการชำระค่าสินค้าเป็นเงินสกุลต่างประเทศ
ข้อกฎหมาย: มาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ           บริษัท A ขอหารือว่า ผู้ประกอบการซึ่งขายสินค้าให้กับผู้ซื้อในประเทศไทย จะตกลงราคาสินค้าและออกใบแจ้งหนี้เรียกเก็บค่าสินค้าเป็นเงินสกุลต่างประเทศ แต่จะออกใบกำกับภาษีเป็นเงินตราไทยได้หรือไม่
แนววินิจฉัย           เนื่องจากใบแจ้งหนี้ไม่ใช่เอกสารทางการค้าที่กฎหมายกำหนดให้ต้องคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยเพื่อปฏิบัต ตามประมวลรัษฎากร บริษัทฯ จึงมีสิทธิออกเอกสารดังกล่าวโดยใช้เงินสกุลต่างประเทศ ส่วนการออกใบกำกับภาษี บริษัทฯ ต้องจัด ทำตามมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร โดยต้องแสดงมูลค่าของสินค้าและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษีเป็นหน่วยเงินตราไทย และต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงิน ตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในแต่ละวัน หรือใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในแต่ละวัน และเมื่อได้เลือกใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามวิธีใดวิธีการหนึ่งแล้ว ต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรานั้นตลอดไป เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรจึงจะเปลี่ยนแปลงวิธีการได้ ตามมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 เว้นแต่กรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งมีความประสงค์จัดทำรายการใน ใบกำกับภาษีเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ จะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรก่อน ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 92) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติจัดทำรายการในใบกำกับภาษีเป็นภาษาต่างประเทศ หรือเป็นหน่วย เงินตราต่างประเทศ ตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2542
เลขตู้: 72/36333

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020