เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/01818
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2541
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีโอนอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในเขตองค์การบริการส่วนตำบล
ข้อกฎหมาย: ประเด็นปัญหา
ข้อหารือ:  1. การจัดตั้งสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 จะถือว่า องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นการปกครองท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ และเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หาที่ตั้งอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล เฉพาะเงินได้จากการขายในส่วนที่ไม่เกิน 200,000 บาท จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณภาษีเงินได้ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ฯ
ข้อ 2 (17) หรือไม่ อย่างไร
   2. ถ้าองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ถือเป็นการปกครองท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ และเจ้าพนักงานที่ดินได้เรียกเก็บภาษีเงินได้ ตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2539 ไว้ไม่ครบ เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจเรียกเก็บภาษีเงินได้เพิ่มจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้หรือไม่ หากผู้มีหน้าที่เพิกเฉยเจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจจะทำให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้เสียภาษีให้รัฐได้อย่างไร
แนววินิจฉัย: องค์การบริหารส่วนตำบลมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ตามมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 เขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลได้แก่ เขตตำบลตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ที่อยู่นอกเขตหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่นได้แก่ เทศบาล สุขาภิบาล เมืองพัทยา หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ดังนั้น การขาย อสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล โดยอสังหาริมทรัพย์นั้นได้รับมาทางมรดกหรือได้รับจากการให้โดยเสน่หา เฉพาะเงินได้จากการขายในส่วนที่ไม่เกิน 200,000 บาทตลอดปีภาษีนั้น ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามมาตรา 42 (17) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับ (17) ของข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509
เลขตู้: 61/26405

 

 

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020