เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811(กม)/1925
วันที่: 3 พฤศจิกายน 2541
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีส่งมอบสินค้า
ข้อกฎหมาย: มาตรา78 (1), มาตรา86, มาตรา87, ประกาศอธิบดีฯ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2534
ข้อหารือ: หจก. ก. ประกอบกิจการรับจ้างขุดสระน้ำ ถมดิน ทำถนน ขนส่ง ขายปลีกดิน หิน กรวด
ทราย ได้ทำสัญญาขายหินกับรัฐวิสาหกิจ จำนวน 40,000 ลบ.มาตรา โดยแบ่งการรับซื้อเป็น 8 งวด เป็น
เงินทั้งสิ้น 10,320,000 บาท ห้างฯ ต้องมาส่งและบรรทุกหินขึ้นรถไฟที่สถานีจะนะ สถานีวัดควนมีด
และสัญญาระบุให้ห้างฯ ต้องสำรองหินโรยทางไว้จำนวนไม่น้อยกว่า 300 ลบ.มาตรา ณ สถานีรถไฟที่
รัฐวิสาหกิจกำหนดเพื่อรอบรรทุกขึ้นตู้ได้ตลอดเวลา เมื่อบรรทุกไปแล้วห้างฯ จะต้องขนหินมาเพื่อให้ครบ
จำนวน 300 ลบ.มาตรา ภายในเวลาไม่เกิน 3 วัน นับจากวันที่ขนขึ้นตู้เสร็จทุกครั้ง
รัฐวิสาหกิจจะประกาศขบวนรถหรือส่งรถเปล่าเข้าไปบรรทุกหินเป็นคราว ๆ เมื่อต้องการ
โดยแจ้งให้ห้างฯ ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน ส่วนการจ่ายเงินจะจ่ายตามจำนวนหินที่ขนขึ้นบรรทุก
รถไฟไปแล้ว
จังหวัดฯ ได้ตรวจนับสินค้าของห้างฯ ณ สถานประกอบการปรากฏว่า ห้างฯ มิได้เก็บสินค้า
ไว้ ณ สถานประกอบการ และห้างฯ ได้นำตรวจ ณ สถานีรถไฟจะนะ ผลการตรวจตรงตาม
รายงานสินค้าและวัตถุดิบของห้างฯ หารือว่า กรณีดังกล่าวห้างฯ ต้องออกใบกำกับภาษีและจัดทำ
รายงานสินค้าและวัตถุดิบอย่างไร
แนววินิจฉัย: กรณีตามข้อเท็จจริง การที่ห้างฯ ขนหินไปสำรองไว้ ณ สถานที่ที่รัฐวิสาหกิจกำหนดดังกล่าว
ถือเป็นการส่งมอบสินค้าแล้ว แม้ว่าในสัญญาตกลงจะจ่ายเงินตามจำนวนหินที่ขนขึ้นบรรทุกรถไฟไปแล้วก็
ตาม ดังนั้นห้างฯ จะต้องรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อได้ส่งมอบสินค้า ตามมาตรา 78 (1) แห่ง
ประมวลรัษฎากรและจะต้องออกใบกำกับภาษีในทันที ทุกครั้งที่มีการส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ ตามมาตรา
86 แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนการจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด และจะต้องลงรายการในรายงานภายในสามวันนับแต่วัน
ส่งมอบสินค้า ทั้งนี้ ตามมาตรา 87 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 22)ฯ ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534
เลขตู้: 61/27233

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020