เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/01597
วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2542
เรื่อง: ภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีการขายอสังหาริมทรัพย์
ข้อกฎหมาย: มาตรา 91/2, พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534
ข้อหารือ: นาย ก. เป็นผู้จัดการมรดกของนาง ข. ตามคำสั่งศาลเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2536 นาง
ข. ได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2535 โดยได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินโฉนดให้แก่ผู้รับพินัยกรรม 9
คน คนละเท่า ๆ กัน โดยแบ่งปันกันเอง ส่วนที่ดินโฉนดอีกแห่ง เนื้อที่ 17 ไร่ 1 งาน 26 ตารางวา
ผู้ตาย (เจ้ามรดก)มิได้กำหนดไว้ในพินัยกรรมว่าจะยกให้แก่ผู้ใด แต่พี่น้องได้ตกลงที่ศาลว่า จะมอบที่ดิน
แปลงนี้แก่ นาง ค. ศาลจึงได้บันทึกไว้ในคำสั่งศาลดังกล่าว นาย ก. ในฐานะผู้จัดการมรดกได้
จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ นาง ค.โดยทำหนังสือสัญญาขายที่ดินเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2537 จึง
ขอทราบว่าจะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะหรือไม่
แนววินิจฉัย: กรณีที่ดินโฉนดที่ ซึ่งผู้ตายมิได้กำหนดในพินัยกรรมว่า ยกให้แก่ผู้ใด ที่ดินมรดกย่อมตกทอดไป
ยังทายาทโดยธรรม ตามมาตรา 1603 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อพี่น้องทุกคนซึ่งเป็น
ทายาทโดยธรรม ตกลงให้แก่ นาง ค. และนาย ก. ในฐานะผู้จัดการมรดกได้รับมอบหมายจากทายาท
ให้ทำหนังสือสัญญาขายที่ดินดังกล่าวแก่ นาง ค. การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ตกทอดเป็นมรดกแก่ทายาท
ตามที่ได้รับมอบหมายจากทายาทเข้าลักษณะเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางมรดกได้รับยกเว้น
ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 3 (6) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 244) พ.ศ.
2534
เลขตู้: 62/27537

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020