เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811(กม)/พ.277
วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2542
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม แนวทางปฏิบัติในการออกใบกำกับภาษีสำหรับกิจการรายย่อย
ข้อกฎหมาย: มาตรา 65 ตรี, มาตรา 82/3, มาตรา 82/5, มาตรา 86/4, มาตรา 86/6, มาตรา 87,
พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502, ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 7)
พ.ศ. 2534 ฯ และ (ฉบับที่ 32) พ.ศ. 2535 ฯ
ข้อหารือ: 1. การดำเนินกิจการขายอาหารหรือขายสินค้าเบ็ดเตล็ด และได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ในอัตราร้อยละ 10.0 ไม่เคยมีรายรับเดือนใดถึง 100,000 บาท และขายสินค้าแต่ละครั้งไม่เกิน 500
บาท จะออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ โดยรวมมูลค่าการขายสินค้าวันละ 1 ฉบับได้หรือไม่
2. สถานที่ตั้งของกิจการไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ประกอบการ ฉะนั้น ค่าโทรศัพท์ ค่าน้ำประปา
ค่าไฟฟ้าในการประกอบกิจการที่เป็นชื่อของเจ้าของสถานที่ ผู้ประกอบการมีสิทธินำใบเสร็จรับเงิน
ใบกำกับภาษีจากค่าใช้จ่ายดังกล่าว มาเป็นภาษีซื้อ เพื่อหักภาษีขายได้หรือไม่ และนำมาเป็นค่าใช้จ่าย
ปลายปีได้หรือไม่
3. หากผู้ประกอบการไปจดทะเบียนเป็นบริษัทฯ ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษีค่าน้ำค่าไฟ
ค่าโทรศัพท์ซึ่งเกิดจากการประกอบกิจการ แต่เป็นชื่อของบุคคลธรรมดา ที่อยู่ตรงกับที่อยู่ของบริษัทฯ ที่ได้
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ จะนำใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษีดังกล่าวมาเป็นภาษีซื้อ และค่าใช้จ่าย
ของบริษัทได้หรือไม่เนื่องจากชื่อไม่ตรงกับบริษัทฯ ผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
4. กรณีตาม 3. จะนำใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษีดังกล่าวมาเป็นภาษีซื้อไม่ได้ ต้องห้าม
ตามมาตรา 82/5 (1) แห่งประมวลรัษฎากร แต่บริษัทฯ มีสิทธินำค่าโทรศัพท์ ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า
ดังกล่าว มาเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ ได้ สำหรับภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวมีลักษณะเป็น
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชำระหรือพึงชำระ จึงต้องห้ามไม่ให้ถือเอาภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวมาเป็นรายจ่าย ใน
การคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 ตรี (6 ทวิ) แห่งประมวลรัษฎากร
แนววินิจฉัย: 1. กรณีตาม 1. หากผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อเท็จจริงเป็นผู้ขายที่ทราบโดยชัดแจ้ง
ว่า เป็นการขายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง และได้ขายในปริมาณ ซึ่งตามปกติวิสัยของผู้บริโภคนั้น จะนำ
สินค้าไปบริโภคหรือใช้สอยโดยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ หรือเป็นการให้บริการในลักษณะ
บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก เข้าลักษณะเป็นกิจการค้าปลีกตามมาตรา 86/6 แห่ง
ประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 32)ฯ ลงวันที่
8 เมษายน พ.ศ. 2535 ผู้ประกอบการดังกล่าว มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 แห่ง
ประมวลรัษฎากรได้ เว้นแต่ผู้ซื้อเรียกร้องให้ออกใบกำกับภาษีที่มีรายการครบถ้วน ตามมาตรา 86/4
แห่งประมวลรัษฎากร และหากการขายสินค้าหรือบริการรายย่อยดังกล่าว ได้ขายสินค้าหรือบริการ โดย
ไม่เคยมีมูลค่าของฐานภาษีในเดือนใดถึง 100,000 บาท ผู้ประกอบการไม่จำต้องออกใบกำกับภาษี
สำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 500 บาท เว้นแต่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับ
บริการจะเรียกร้อง โดยให้ผู้ประกอบการจัดทำใบกำกับภาษีรวบรวมการขายสินค้าหรือการให้บริการที่
มูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 500 บาท ในหนึ่งวันทำการ เพื่อเป็นเอกสารประกอบการลงรายงานภาษีขาย
ตามมาตรา 87 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากรประกอบกับ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 7)ฯ ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2534
โดยใบกำกับภาษีดังกล่าว สามารถจัดทำเป็นใบกำกับภาษีอย่างย่อ ตามมาตรา 86/6 แห่ง
ประมวลรัษฎากรได้
2. กรณีตาม 2. ใบกำกับภาษีที่มิได้ระบุชื่อผู้ประกอบการนั้น ผู้ประกอบการ ไม่มีสิทธินำ
ใบกำกับภาษีดังกล่าวมาเป็นภาษีซื้อเพื่อหักจากภาษีขายในการคำนวณภาษีตามมาตรา 82/3 แห่ง
ประมวลรัษฎากรเนื่องจากใบกำกับภาษีดังกล่าวถือเป็นภาษีซื้อต้องห้าม ตามมาตรา 82/5 (1) แห่ง
ประมวลรัษฎากร แต่ผู้ประกอบการมีสิทธินำค่าน้ำ ค่าไฟ ดังกล่าวมาเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษี
เงินได้บุคคลธรรมดาได้เนื่องจากเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ ไม่ต้องห้าม
ตามมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร แต่สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีดังกล่าวถือเป็น
รายจ่ายต้องห้าม บริษัทฯ ไม่มีสิทธินำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณหากำไรสุทธิได้ ตามมาตรา 65 ตรี
(6 ทวิ) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ตามมาตรา 8 ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ ว่าด้วยการกำหนด
ค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502
เลขตู้: 62/27581

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020