เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/02305
วันที่: 12 มีนาคม 2542
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีขอคืนดอกเบี้ยภาษีอากรที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย
ข้อกฎหมาย: มาตรา 3 เตรส, มาตรา 27 ตรี, กฎกระทรวง ฉบับที่ 161 (พ.ศ. 2526)ฯ
ข้อหารือ: บริษัท ก จำกัด ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีอากร (ค.10) ประเภทภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ของรอบระยะเวลาบัญชี 2537-2539 ต่อสำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2540
และวันที่ 4 กรกฎาคม 2540 เนื่องจากในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวบริษัทถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
จากเงินปันผล ค่าเช่าที่ดินและค่าเช่าโครงป้ายโฆษณา ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร
จำนวนเงิน 77,058,554.24 บาท แต่เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีบริษัทฯ มีผลประกอบการขาดทุนทำให้
บริษัทฯ ไม่ต้องเสียภาษีและมีเครดิตภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่ชำระไว้เกินเหลืออยู่ ต่อมา สำนักงานภาษี
สรรพากรพื้นที่ ได้ทำการตรวจก่อนคืนปรากฏว่า บริษัทฯ มีสิทธิได้รับคืนเงินจำนวน 76,275,010.88
บาท และมีหนังสือแจ้งคืนภาษีอากร (ค.20) ให้แก่บริษัทฯ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2541 ซึ่ง
เจ้าพนักงานได้ระบุในหนังสือแจ้งคืนเงินภาษีอากรว่า เป็นการคืนเงินภาษีอากรประเภท "ภาษีนิติบุคคล
" และคำนวณดอกเบี้ยให้แก่บริษัทฯ ในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของจำนวนเงินภาษีที่บริษัทฯ มีสิทธิได้
รับคืน รวมดอกเบี้ยที่มีสิทธิได้รับตามหนังสือแจ้งคืนทั้งสิ้น 9,136,369.16 บาท เหตุที่เจ้าพนักงานใช้วิธี
คำนวณดอกเบี้ยให้แก่บริษัทฯ ดังกล่าว ก็เนื่องมาจากเจ้าพนักงานเข้าใจว่า "ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย"
ตามที่บริษัทฯ ยื่นคำร้องขอคืนเป็นการขอคืนภาษีเงินได้ "นิติบุคคล" ตามแบบแสดงรายการ
ภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ที่บริษัทฯ ได้ยื่นไว้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ขอคืน (2537 - 2539)
และเมื่อบริษัทฯ ได้ยื่นคำร้อง ค.10 เพื่อขอคืนภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 และปี 2538 เมื่อ
วันที่ 23 มกราคม 2540 จึงต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยให้ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2540 วันครบระยะเวลา 3
เดือน เป็นต้นไป ส่วนการขอคืนภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2539 บริษัทฯ ยื่นคำร้อง ค.10 เพื่อขอคืน
เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2540 จึงต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยให้ตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม 2540 เป็นต้นไป ตามข้อ
1 (2) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 161 (พ.ศ. 2526)
แต่บริษัทฯ ไม่เห็นด้วยกับวิธีการคำนวณดอกเบี้ยของเจ้าพนักงานและเห็นว่าภาษีอากรใน
รอบระยะเวลาบัญชีปี 2537-2539 ที่ยื่นคำร้องขอคืนเอาไว้นั้น เป็นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่บริษัทฯ
ถูกผู้จ่ายเงินได้หัก ณ ที่จ่ายเอาไว้ มิใช่เป็นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามที่เจ้าพนักงานเข้าใจ ดังนั้น จึงเป็น
การคืน "เงินภาษีอากรที่บริษัทฯ ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย" ตามข้อ 1 (1) (ก) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่
161 (พ.ศ. 2526) ว่าด้วยการให้ดอกเบี้ยแก่ผู้รับคืนเงินภาษีอากร ซึ่งต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยให้ตั้งแต่วัน
ถัดจากวันครบระยะเวลา 3 เดือน นับแต่วันสิ้นกำหนดระยะเวลายื่นแบบแสดงรายการ
ภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) และรอบระยะเวลาบัญชีของบริษัทฯ เป็นไปตามปฏิทิน (1 มกราคม
- 31 ธันวาคม) ซึ่งได้แก่วันที่ 30 พฤษภาคม ของทุกปี ดังนั้น เมื่อบริษัทฯ ได้ยื่นคำร้องขอคืน (ค.10)
ภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย ในรอบระยะเวลาบัญชี ปี 2537, 2538 และปี 2539 เจ้าพนักงานจึงต้อง
เริ่มคิดดอกเบี้ยให้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2538, 2539 และ 2540 เป็นต้นไปตามลำดับ และ
เจ้าพนักงานจะต้องคำนวณให้ถึงวันที่ที่ลงในหนังสือแจ้งคืนภาษีอากร (ค.20) ได้แก่วันที่ 15 กรกฎาคม
2541 และเมื่อคำนวณดอกเบี้ยให้ถูกต้องและเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายดังที่บริษัทฯ เข้าใจ จะเป็น
ดอกเบี้ยรวมทั้งสิ้น 15,897,834.86 บาท แต่เจ้าพนักงานคำนวณดอกเบี้ยให้เพียง 9,136,389.16
บาท ดอกเบี้ยจึงขาดไปจำนวน 6,761,445.70 บาท จึงขอทราบว่า วิธีการคำนวณดอกเบี้ยของบริษัท
ถูกต้อง
แนววินิจฉัย: กรณีดังกล่าวเป็นกรณีบริษัทฯ เสียภาษีไว้เกินจากการถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตาม
มาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ใช่กรณีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการยื่น
แบบแสดงรายการ (ภ.ง.ด.50) บริษัทฯ จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากการคืนภาษีตั้งแต่วันถัดจากวันครบ
ระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันสิ้นกำหนดระยะเวลายื่นแบบแสดงรายการตามแบบแสดงรายการ
(ภ.ง.ด.50) จนถึงวันที่ลงในหนังสือแจ้งคำสั่งคืนเงินภาษีอากร ทั้งนี้ ตาม ข้อ 1 (1) (ก) และ
วรรคท้ายของข้อ 1 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 161 (พ.ศ. 2526) ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากร ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2526
เลขตู้: 62/27641

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020