เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/06990
วันที่: 16 กรกฎาคม 2542
เรื่อง: ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีบริษัทได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน
ข้อกฎหมาย: มาตรา 3 เตรส, มาตรา 63, คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ
ข้อหารือ: บริษัทฯ ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2540 ประเภท 4.28 การ
ชุบเคลือบผิวโลหะและพลาสติก (SURFACE TREATMENT) ตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติ
ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ให้ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการ
ประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมมีกำหนดเวลา 8 ปี นับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการ
บริษัทฯ รับจ้างชุบเคลือบผิวโลหะ บริษัทฯ ต้องตัดเปลี่ยนกระบอกไฮดรอลิค ซ่อม โดย เจีย
กลึงและเชื่อม ก่อนการชุบเคลือบผิวโลหะ ฯลฯ โดยแยกเรียกเก็บค่าบริการแต่ละรายการ เมื่อบริษัทฯ
ผู้ว่าจ้างจ่ายค่าจ้างจะหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส ไว้ทุกครั้ง บริษัทฯ ขอทราบว่า
1. บริษัทฯ ผู้ว่าจ้างไม่มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เมื่อจ่ายค่าจ้างให้บริษัทฯ
ใช่หรือไม่ และบริษัทฯ ต้องปฏิบัติอย่างไรเพื่อมิให้ผู้ว่าจ้างไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เมื่อจ่าย
ค่าจ้างให้บริษัทฯ
2. จากข้อ 1. เมื่อบริษัทฯ ไม่ต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่บริษัทฯ ได้ถูกหักภาษี
และนำส่งไว้แล้วตั้งแต่ปี 2540 ถึงปัจจุบัน บริษัทฯ จะขอคืนได้หรือไม่ อย่างไร
แนววินิจฉัย: 1. กรณีตามข้อเท็จจริง บริษัทฯ ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนโดยได้รับสิทธิและประโยชน์
ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการชุบเคลือบผิว
โลหะและพลาสติก มีกำหนดเวลา 8 ปี นับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการ จึงมีผลให้
บริษัทฯ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการประกอบกิจการรับชุบเคลือบผิวโลหะและ
พลาสติกตลอดระยะเวลาที่ได้รับยกเว้น ดังนั้น ผู้จ่ายเงินค่าชุบเคลือบผิวโลหะและพลาสติก จึงไม่มี
หน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด โดยบริษัทฯต้องถ่ายสำเนาบัตรส่งเสริมให้ผู้ว่าจ้าง
เพื่อแสดงว่าบริษัทฯ ได้รับสิทธิและประโยชน์ในการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับการ
ประกอบกิจการดังกล่าว
เมื่อบริษัทฯ ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งแล้ว แต่บริษัทฯ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
นิติบุคคลบริษัทฯ มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนภายในสามปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งรอบระยะเวลาบัญชี ตามมาตรา
63 แห่งประมวลรัษฎากร
2. กรณีบริษัทประกอบกิจการซ่อม โดยกลึง เจีย เชื่อม และตัดเปลี่ยนกระบอกไฮดรอลิค
ฯลฯเป็นการรับจ้างทำของ ตามมาตรา 587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และเป็นกิจการที่
บริษัทฯ ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ผู้จ่ายเงินได้จึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ
3.0 ของค่าบริการตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528
เลขตู้: 62/28036

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020