เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/พ.09004
วันที่: 30 สิงหาคม 2542
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีชำระค่าสินค้าหรือค่าบริการจากโครงการเงินกู้ตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
ข้อกฎหมาย: มาตรา 80, มาตรา 80/1(4)
ข้อหารือ: กรณีส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจชำระค่าสินค้าหรือค่าบริการให้ผู้ประกอบการจดทะเบียน
ด้วยเงินกู้จากต่างประเทศตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจซึ่งเป็นโครงการที่ได้
รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเข้าลักษณะเป็นการชำระค่าสินค้าหรือค่าบริการตามข้อ 1 ของ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 28)ฯ ลงวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2535
หากส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ได้ออกหนังสือรับรองที่มีรายการครบถ้วนตามข้อ 2 ของ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ฉบับดังกล่าว ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะได้รับสิทธิใช้อัตราภาษีร้อยละ 0
ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 80/1 (4) แห่งประมวลรัษฎากร
กรมบัญชีกลางในฐานะหน่วยงานอนุมัติฎีกาเบิกจ่ายเงินโครงการเงินกู้ตามมาตรการเพิ่ม
การใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจึงขอหารือแนวปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มตาม
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ฉบับดังกล่าวดังนี้
1. หากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นมิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และ
เงื่อนไขของข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ฉบับดังกล่าว และได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มไปแล้วใน
อัตราปกติจะขอรับคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจากกรมสรรพากรได้หรือไม่ หากขอคืนได้ต้องปฏิบัติเช่นใด
2. การออกหนังสือรับรองการชำระค่าสินค้าหรือบริการดังกล่าว จะต้องออกให้เมื่อก่อหนี้
ผูกพันหรือเมื่อชำระหนี้
3. ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการชำระค่า
สินค้า หรือบริการที่มีรายการครบถ้วนตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ ฉบับดังกล่าวแล้ว แต่
ผู้ประกอบการไม่สามารถลดภาษีมูลค่าเพิ่มได้เนื่องจากคำนวณราคาสินค้าจากเครื่องคิดเงินอัตโนมัติซึ่ง
รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว เช่นการชำระค่าน้ำมันเชื้อเพลิงตามสถานีบริการเป็นต้น จะต้องปฏิบัติอย่างไร
นั้น
แนววินิจฉัย: 1. กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนจะได้รับสิทธิใช้อัตราภาษีร้อยละ 0 ในการคำนวณภาษี
มูลค่าเพิ่มตามมาตรา 80/1 (4) แห่งประมวลรัษฎากร และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 28) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขายสินค้าหรือการ
ให้บริการกับกระทรวง ทบวงกรม ราชการส่วนท้องถิ่นหรือรัฐวิสาหกิจตามโครงการเงินกู้หรือ
เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ ลงวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2535 จะต้องเป็นการขายสินค้าหรือให้บริการ
กับกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่นหรือรัฐวิสาหกิจ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่
กำหนดตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ฉบับดังกล่าว
2. กรณีตามปัญหาที่หารือ ให้ปฏิบัติตามลำดับดังนี้
2.1 กรณีตาม 1 หากปรากฏว่า ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่น
มิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 28)ฯ
ลงวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2535 (ไม่ได้ออกหนังสือรับรองการชำระค่าสินค้าหรือบริการให้ผู้ประกอบการ
จดทะเบียนตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของประกาศ) จึงถือว่าไม่ได้ปฏิบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์และ
เงื่อนไขของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ฉบับดังกล่าว ดังนั้น ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องเรียกเก็บ
ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับมาตรา 3 แห่ง
พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 236) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 353)
พ.ศ. 2542 และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นได้
ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7.0 ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนไปแล้วจึงไม่มีกรณีที่ต้องคืน
ภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด
2.2 กรณีตาม 2 ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ออก
หนังสือรับรองการชำระค่าสินค้าหรือบริการให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนทุกครั้งที่มีการซื้อสินค้าหรือรับ
บริการ ตามข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 28)ฯ ลงวันที่ 5
มีนาคม พ.ศ. 2535
2.3 กรณีตาม 3 เนื่องจากตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ของ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 28)ฯ ลงวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2535
ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องออกใบกำกับภาษีเต็มรูปให้แก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจหรือราชการ
ส่วนท้องถิ่นเมื่อซื้อสินค้าหรือได้รับบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียน กรณีนี้จึงให้ส่วนราชการ
รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นทำความตกลงกับผู้ประกอบการจดทะเบียน (สถานีบริการน้ำมัน)
เพื่อออกใบกำกับภาษีเต็มรูปให้แก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการ
จดทะเบียนก็จะได้รับสิทธิใช้อัตราภาษีร้อยละ 0 ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 80/1 (4)
แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 28)ฯ
ลงวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2535
เลขตู้: 62/28250

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020