เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/30023
วันที่: 5 มกราคม 2543
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการคำนวณดอกเบี้ยให้แก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากรที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย
ข้อกฎหมาย: มาตรา 63, กฎกระทรวง ฉบับที่ 161 (พ.ศ. 2526)ฯ
ข้อหารือ: สำนักงานสรรพากรภาคหารือปัญหาภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการคำนวณดอกเบี้ยให้แก่
ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากรที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย สรุปข้อเท็จจริงได้ ดังนี้
บริษัท ค. จำกัด ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร (ค.10) ประเภทภาษีเงินได้นิติบุคคล
รอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 - 2539 เป็นจำนวนเงิน 97,155,998.58 บาท เนื่องจากถูกหักภาษี ณ
ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากรไว้ แต่เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี บริษัทฯ มีผล
ประกอบการขาดทุน จึงยื่นคำร้องขอคืนภาษีที่ถูกหักไว้ ซึ่งบริษัทฯ ได้รับคืนเงินภาษีที่ขอคืนไปแล้ว โดย
รอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 - 30 มิถุนายน 2538 ได้รับคืนเงินภาษีก่อนตรวจสอบ เป็นจำนวนเงิน
61,307,305.64 บาท เพราะบริษัทฯ นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาค้ำประกัน
รอบระยะเวลาบัญชี 1 กรกฎาคม 2538 - 30 มิถุนายน 2539 บริษัทฯ ได้รับคืนเงินภาษีภายหลัง
การตรวจสอบ เป็นจำนวนเงิน 30,404,453.74 บาท และบริษัทฯ ยังได้แสดงความประสงค์จะขอรับ
ดอกเบี้ยที่เกิดจากการขอคืนภาษีด้วย โดยขอให้เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันครบกำหนดระยะเวลาสามเดือน
นับแต่วันสิ้นกำหนดระยะเวลายื่นแบบแสดงรายการ
จากการตรวจสอบปรากฏว่า บริษัทฯ ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50, แบบ ค.10 และมีสิทธิได้รับคืน
ภาษีอากร ดังนี้
รอบบัญชี กำหนด วันที่ วันที่ จำนวนเงิน การรับเงินคืนไปโดยมี ได้คืนตามผล
เวลาที่ยื่น บริษัทยื่น ยื่น ขอคืนและวันที่ ค้ำประกัน การตรวจของ
ภ.ง.ด.50 ภ.ง.ด.50 ค.10 ยื่นหลักประกัน วันเดือนปี จำนวนเงิน สต.
25มิย- 30พค36 30พค36 7กค37 1,407,139.82 30 มีค38 1,407,139.82 1,407,230.23
31ธค35 26 มค.38
1 มค- 30พค37 30พค37 7กค37 20,309,206.61 30 มีค38 20,307,643.20 20,309,206.61
31ธค36 26 มค.38
1 มค- 30พค38 30พค38 14มิย38 26,204,286.15 24เมย39 26,204,286.15 26,204,286.15
31ธค37 14 พย.39
1 มค- 27พย38 29สค40 18กย40 13,719,864.00 13 กพ41 13,388,236.47 10,638,745.92
30 มิย.38 -
1กค38-27พย39 29สค40 18กย40 35,515,502.00 - - 30,404,453.74
30 มิย.39 -
รวม 97,155,998.58 61,307,305.64 88,963,922.65
สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่เห็นว่า แบบ ภ.ง.ด.50 ไม่ถือว่าเป็นคำร้องขอคืนเงิน
ภาษีอากร ถ้าผู้เสียภาษีมีความประสงค์จะขอคืนภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร
(ค.10) เพียงอย่างเดียว และในทางปฏิบัติจะไม่มีการพิจารณาตรวจคืนเงินภาษีอากรให้ผู้เสียภาษีที่ยื่น
แบบ ภ.ง.ด.50 กรณีมีภาษีชำระเกินจากการยื่นแบบฯ จนกว่าผู้เสียภาษีจะยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร
(ค.10) เท่านั้น ต่างจากการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 ภ.พ.30 ซึ่งถือว่าแบบฯ ดังกล่าว เป็น
คำร้องขอคืนเงินภาษี
ดังนั้น หากบริษัทฯ มีความประสงค์ที่จะขอคืนภาษีเงินได้นิติบุคคล บริษัทฯ ต้องยื่นแบบฯ
พร้อมคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร (ค.10) ด้วย แต่กรณีนี้ บริษัทฯ ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร (ค.10)
ภายหลังจากการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 และกรมฯ ได้ตรวจคืนภาษีหลังจากที่บริษัทฯ ยื่นคำร้องขอคืนเงิน
ภาษีดังกล่าว ฉะนั้น เมื่อบริษัทฯ มีสิทธิที่จะได้รับเงินภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้เกินคืน ดอกเบี้ยของเงิน
ภาษีที่จะได้รับน่าจะเริ่มคิดนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดระยะเวลาสามเดือน นับแต่วันสิ้นกำหนด
ระยะเวลายื่นแบบแสดงรายการตามที่กฎหมายกำหนด ตามข้อ 1 (1) (ก) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 161
(พ.ศ.2526)ฯ ลงวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 ซึ่งการยื่นแบบแสดงรายการตามที่กฎหมายกำหนด
หมายถึงการที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.50 ภายในเวลาที่กำหนด และยื่นคำร้องขอคืนเงิน
ภาษีอากร จึงถือว่ามีสิทธิได้รับเงินจำนวนที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้เกินคืน ตามมาตรา 63 แห่ง
ประมวลรัษฎากรกล่าวคือ ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 35 - 37 (วันที่ 25 มิถุนายน - 31 ธันวาคม 2535,
1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2536 และ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2537) จะเริ่มคิดดอกเบี้ยให้นับแต่
วันถัดจากวันครบกำหนดระยะเวลาสามเดือน จากการยื่นคำร้องขอคืน คือวันที่ 7 กรกฎาคม 2537, 7
กรกฎาคม 2537 และ 14 มิถุนายน 2538 ส่วนในรอบระยะเวลาบัญชีปี 38-39 (วันที่ 1 มกราคม -
30 มิถุนายน 2538 และ 1 กรกฎาคม 2538 - 30 มิถุนายน 2539) บริษัทฯ ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50
ภายหลังจากวันครบกำหนดยื่นแบบแสดงรายการ จึงไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยดังกล่าว จึงขอทราบว่าความ
เห็นดังกล่าวของสำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ ถูกต้องหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้องการคิดดอกเบี้ยกรณีดังกล่าว
ควรจะคิดอย่างไรจึงจะถูกต้อง
สำนักงานสรรพากรภาคเห็นว่า
1. เมื่อบริษัทฯ ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ตาม
มาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากรไว้เกินและเมื่อเจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบแล้วปรากฏว่า
บริษัทฯ มีภาษีที่ได้รับคืน ฉะนั้น การคิดดอกเบี้ยตามมาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่บริษัทฯ
จึงต้องถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การคำนวณดอกเบี้ย กรณีคืนเงินภาษีอากรที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย ตามข้อ
1 (1) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 161 (พ.ศ. 2526) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการให้
ดอกเบี้ยแก่ผู้รับคืนเงินภาษีอากร ลงวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 และเนื่องจากบริษัทฯ มีฐานะเป็น
นิติบุคคล ซึ่งมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีตามมาตรา 68 แห่งประมวลรัษฎากร โดย
บริษัทฯ มีสิทธินำภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย ไปถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีเงินได้ของบริษัทฯ ตาม
แบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) เมื่อบริษัทฯ ถูกหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ
ที่จ่ายไว้เกิน การคืนภาษีอากรให้บริษัทฯ จึงเข้าลักษณะเป็นการคืนเงินภาษีอากรให้แก่ผู้ได้รับคืนเงิน
ภาษีอากรที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเกี่ยวกับเงินภาษีอากรที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย ดังนั้น การคิดดอกเบี้ย
กรณีขอคืนภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย ไว้เกินให้แก่บริษัทฯ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 -
2537 จึงต้องเริ่มคิดดอกเบี้ย ตั้งแต่วันถัดจากวันครบกำหนดระยะเวลาสามเดือน นับแต่วันสิ้นกำหนด
ระยะเวลายื่นแบบแสดงรายการ ตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ ตามข้อ 1 (1) (ก) แห่งกฎกระทรวงฉบับ
ดังกล่าว
2. สำหรับกรณีที่บริษัทฯ ยื่นแบบแสดงรายการสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2538 - 2539
เกินเวลาที่กฎหมายกำหนด แต่ยื่นคำร้องขอคืน (ค.10) ภายในกำหนดเวลา ซึ่งสำนักงานภาษี
สรรพากรพื้นที่ เห็นว่า บริษัทฯไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยดังกล่าว เห็นว่า ตามนัยข้อ 2 ของกฎกระทรวง
ฉบับดังกล่าว กำหนดการคิดดอกเบี้ยตามข้อ 1 จะคิดให้ต่อเมื่อได้มีการยื่นแบบแสดงรายการ หรือคำร้อง
ขอคืนเงินภาษีอากรภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด หรือภายในเวลาที่ได้รับการขยายหรือเลื่อนให้
จากนัยดังกล่าว แม้บริษัทฯ ได้ยื่นแบบแสดงรายการ (ภ.ง.ด.50) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว
เกินกำหนดเวลา แต่บริษัทฯ ก็ได้ยื่นคำร้องขอคืน (ค.10) ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดตามนัยข้อ 2
ของกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวแล้ว บริษัทฯ จึงควรได้สิทธิในการได้รับดอกเบี้ยตามนัยข้อ 1 (1) (ก)
แห่งกฎกระทวงฉบับดังกล่าวด้วย แต่เนื่องจากกรณีดังกล่าวกรมสรรพากรยังไม่มีแนววินิจฉัยไว้เป็น
บรรทัดฐาน จึงส่งเรื่องให้กรมสรรพากรพิจารณา
แนววินิจฉัย: กรณีตามข้อเท็จจริง การพิจารณาคืนเงินภาษีอากรให้บริษัทฯ เข้าหลักเกณฑ์การคืนเงิน
ภาษีอากรให้แก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากรที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเกี่ยวกับเงินภาษีอากรที่ถูกหักไว้ ณ
ที่จ่าย ตามข้อ 1 (1) (ก) และข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 161 (พ.ศ. 2526) ออกตามความใน
ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากร ลงวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2526
และบริษัทฯ ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.50 และคำร้องขอคืน (แบบ ค.10) ภายในเวลาที่
กฎหมายกำหนด
สำหรับกรณีที่ข้อ 2 ของกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวกำหนดว่า จะคิดดอกเบี้ยให้ต่อเมื่อได้ยื่น
แบบแสดงรายการหรือคำร้องขอคืนเงินภาษีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด” นั้น เป็นการกำหนดเพื่อให้
สอดคล้องกับความในข้อ 1 (1) (ก), (ข) (2) และ (3) แล้วแต่กรณี มิได้หมายความว่าได้
กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง (ยื่นแบบแสดงรายการหรือคำร้องแบบ ค.10 ภายในเวลาที่กฎหมาย
กำหนด) แล้วจะมีสิทธิได้รับดอกเบี้ย
ดังนั้น รอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 - 2537 บริษัทฯ ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 และคำร้องแบบ
ค.10 ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ย โดยให้เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันถัดจากวัน
ครบระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันสิ้นกำหนดระยะเวลายื่นแบบแสดงรายการตามที่กฎหมายกำหนด
ส่วนรอบระยะเวลาบัญชีปี 2538 - 2539 บริษัทฯ ไม่ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ภายในเวลาที่
กฎหมายกำหนด แม้จะยื่นคำร้องแบบ ค.10 ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดก็ตาม บริษัทฯ ไม่มีสิทธิได้รับ
ดอกเบี้ย
เลขตู้: 63/28784

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020