เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/พ.250
วันที่: 17 มกราคม 2543
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีผู้ประกอบกิจการตามมาตรา 82/16 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อกฎหมาย: มาตรา 82/10, พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 354) พ.ศ. 2542
ข้อหารือ: สรรพากรภาคได้หารือกรณีการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของตัวแทน บริษัท ประกันชีวิตว่า
สรรพากรเขตได้ตรวจสอบรายชื่อตัวแทนขายประกันชีวิตของบริษัทฯ จากแบบ ภ.ง.ด.1 ก. ประจำปี
ภาษี 2541 กรณีมีรายได้จากค่าบำเหน็จประกันชีวิต ซึ่งเข้าข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนวันที่ 1
เมษายน 2542 โดยให้จดทะเบียนและเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มที่พึงชำระก่อนวันที่
พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดมูลค่าของฐานภาษีของ
กิจการขนาดย่อม ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 354) พ.ศ. 2542 ใช้บังคับเนื่องจากคำว่าพึง
ชำระ ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 354) พ.ศ. 2542 หมายความถึง ต้องชำระหรือมีหน้าที่ต้อง
ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนที่พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ใช้บังคับ ฉะนั้น จึงดำเนินการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มใน
ส่วนนี้ได้
สรรพากรภาคเห็นว่า พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 354) พ.ศ. 2542 กำหนดให้
ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/16 แห่งประมวลรัษฎากร มี
ผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2542 และกำหนดให้กิจการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/16
แห่งประมวลรัษฎากร ให้ยังคงใช้บังคับต่อไป เฉพาะการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่ค้างอยู่ หรือพึงชำระก่อน
วันที่พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ใช้บังคับ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ตัวแทนขายประกันชีวิตของบริษัทฯ มี
รายได้ซึ่งเข้าข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/16 แห่งประมวลรัษฎากร ก่อนวันที่ 1 เมษายน
2542 จึงเป็นความรับผิดที่เกิดขึ้นก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 354) พ.ศ. 2542 ใช้บังคับ
เพราะฉะนั้น หน้าที่ในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามนัยมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว ยังคงมี
อยู่ แต่การที่จะให้ไปจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ไม่น่าจะกระทำได้ ควรจะส่งข้อมูลให้งานตรวจสอบ
เพื่อออกหมายเรียก หากปรากฏข้อเท็จจริงว่าอยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ให้เจ้าพนักงานประเมิน
เรียกเก็บภาษีต่อไป
แนววินิจฉัย: กรณีที่ผู้ประกอบการที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/16 แห่ง
ประมวลรัษฎากรก่อนวันที่ 1 เมษายน 2542 เข้าข่ายที่จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามความเห็นของ
สรรพากรภาค นั้นถูกต้องแล้ว แต่ผู้ประกอบการดังกล่าวไม่จำเป็นต้องจดทะเบียน เนื่องจากปัจจุบัน
ผู้ประกอบการตามมาตรา 82/16 แห่งประมวลรัษฎากร ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตาม
พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 354) พ.ศ. 2542 นอกจากมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วยังต้องเสีย
เงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ ตามมาตรา 89/1 แห่ง
ประมวลรัษฎากร และเบี้ยปรับ 2 เท่าของตัวภาษีที่ต้องเสียในเดือนภาษีตลอดระยะเวลาที่ไม่ปฏิบัติ หรือ
หนึ่งพันบาทต่อเดือนภาษี แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2542 ตามมาตรา 89 (1)
แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งอาจลดหรืองดได้ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.81/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์
การงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 22
มาตรา 26 มาตรา 67 ตรีมาตรา 89 และมาตรา 91/21 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9
กรกฎาคม 2542 และค่าปรับอาญาตามมาตรา 90/2 (2) แห่งประมวลรัษฎากรอีกด้วย
เลขตู้: 63/28813

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020