เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/1229
วันที่: 17 กุมภาพันธ์ 2543
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการคำนวณดอกเบี้ยให้แก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากร
ข้อกฎหมาย: มาตรา 4 ทศ
ข้อหารือ: บริษัท ก. ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย ต่อมาได้มีหนังสือแจ้งคืนเงิน
ภาษีอากร (ค.20) คืนเงินภาษีพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของจำนวนเงินภาษีที่ได้รับคืน แต่
การคำนวณดอกเบี้ยของเจ้าพนักงานนั้น เจ้าพนักงานจะคิดคำนวณให้เป็นรายวันจนถึงวันที่ที่ลงในหนังสือ
แจ้งคืนเงินภาษี บริษัทฯ ได้รับหนังสือแจ้งคืนเงินภาษีอากร ลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2541 เจ้าพนักงานก็
จะคิดคำนวณดอกเบี้ยในเดือนกรกฎาคม 2541 ให้เพียง 15 วันเท่านั้น จึงหารือว่าวิธีการคำนวณ
ดอกเบี้ยให้แก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากร กรณีระยะเวลาการคำนวณดอกเบี้ยไม่เต็มเดือน (กรกฎาคม
2541) จะคิดคำนวณดอกเบี้ยอย่างไร
สำนักงานสรรพากรภาคเห็นว่าประมวลรัษฎากร มาตรา 4 ทศ มุ่งประสงค์จะให้
คิดคำนวณดอกเบี้ยให้แก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากร ในอัตราร้อยละ 1 ของเงินภาษีอากรที่ได้รับคืน เป็น
เดือน ๆ ไป ไม่ว่าวันที่ที่ลงในหนังสือแจ้งคืนภาษีอากร (ค.20) จะลงวันที่ใดในเดือนปฏิทินนั้น ก็ต้อง
คิดคำนวณดอกเบี้ยให้เป็น 1 เดือน และแม้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 161 (พ.ศ. 2526)ฯ ข้อ 1
วรรคสุดท้าย จะบัญญัติ คำว่า “ให้คิดจนถึงวันที่ลงในหนังสือแจ้งคำสั่งคืนเงิน" ก็ควรจะแปลความว่าให้
คิดดอกเบี้ยให้แก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากร จนถึงเดือนที่ลงในหนังสือแจ้งคำสั่งคืนเงิน ทั้งนี้ เพื่อให้เป็น
การสอดคล้องกับบทบัญญัติของมาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากรที่ว่า “ให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงิน
ภาษีอากรในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือน”
ตามข้อเท็จจริงบริษัทฯ ได้รับหนังสือแจ้งคืนเงินภาษีอากรลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2541
การคิดคำนวณดอกเบี้ยให้แก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากรสำหรับเดือนกรกฎาคม 2541 เจ้าพนักงานฯ ต้อง
คำนวณดอกเบี้ยให้ในเดือนดังกล่าวอัตราร้อยละ 1 ของเงินภาษีอากรที่ได้รับคืน โดยถือเป็น 1
เดือนเต็ม มิใช่คิดคำนวณเฉลี่ยให้เป็นรายวันจำนวน 15 วัน ตามวันที่ที่ลงในหนังสือแจ้งคืนภาษีอากร
แนววินิจฉัย: กรณีตามข้อเท็จจริง เจ้าพนักงานฯ ต้องคำนวณคอกเบี้ยให้แก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากร
สำหรับเดือนกรกฎาคม 2541 โดยนับเป็น 1 เดือนตามมาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 63/28940

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020