เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/2459
วันที่: 28 มีนาคม 2543
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการโอนสิทธิการเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ข้อกฎหมาย: มาตรา 77/1 (8), มาตรา 86, มาตรา 89
ข้อหารือ: บริษัทหลักทรัพย์ อ. จำกัด เกิดจากการแยกธุรกิจหลักทรัพย์ออกจากธุรกิจเงินทุนของ
บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บ. จำกัด ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดเงื่อนไขให้
ผู้ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่เป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์แยกธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์
ออกจากกัน ลงวันที่ 23 กรกฎาคมพ.ศ.2541 และบริษัทฯ ได้รับอนุญาตให้เริ่มดำเนินธุรกิจหลักทรัพย์
ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2542 ต่อมาผู้ถือหุ้นใหญ่คือธนาคาร พ*. จำกัด ต้องการรวมบริษัทในเครือที่
ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ไว้แห่งเดียวกัน จึงกำหนดให้บริษัทฯ โอนธุรกิจและลูกค้าให้กับ บล*. ท. จำกัด
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2542 ซึ่งบริษัทฯ ได้โอนการเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้ บล*.
ท. จำกัด ด้วยโดยบริษัทฯ ไม่ได้เรียกเก็บเงินค่าสิทธิการเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์จาก บล*. ท.
จำกัด เนื่องจาก บงล. บ. จำกัด ได้เป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทย ประมาณปี 2523 โดยไม่เสียค่าสมาชิก และเมื่อมีการแยกธุรกิจหลักทรัพย์ออกจาก
ธุรกิจเงินทุน บงล.บ. จำกัด ได้โอนการเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ให้กับบริษัทฯ โดยไม่ได้
เรียกเก็บเงินจากบริษัทฯดังนั้น เมื่อบริษัทฯ ต้องโอนธุรกิจและลูกค้าให้กับ บล*. ท. จำกัด จึงไม่ได้
เรียกเก็บเงินค่าสมาชิกตลาดหลักทรัพย์เช่นเดียวกันบริษัทฯ เข้าใจว่า
1. เมื่อ บงล. บ. จำกัด ได้เป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ โดยไม่ถูกเรียกเก็บเงินค่า
สมาชิกตลาดหลักทรัพย์และเป็นรายการที่เกิดก่อนที่จะมีการนำกฎหมายว่าด้วยภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้ ดังนั้น
การโอนการเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ภายหลังที่นำกฎหมายว่าด้วยภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้แล้ว ไม่ต้องนำมา
คำนวณเพื่อเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกัน
2. การเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ไม่เป็นสินค้าและบริการที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
เนื่องจาก บริษัทฯ ไม่มีเจตนาที่จะนำการเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์มาซื้อขายเพื่อหาผลประโยชน์
3. บริษัทฯ ได้รับโอนการเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์จาก บงล. บ. จำกัด ด้วยราคาตาม
คำสั่งของกรมสรรพากร ที่ ป.57/2538 ฯลฯ ลงวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2538 ซึ่งราคาของการเป็น
สมาชิกตลาดหลักทรัพย์ของ บงล. บ. จำกัด มีค่าเป็นศูนย์ ดังนั้น เมื่อบริษัทฯ โอนการเป็นสมาชิก
ตลาดหลักทรัพย์ให้ บล*. ท. จำกัด จึงโอนตามราคาที่เป็นศูนย์เช่นเดียวกัน
4. การโอนการเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ดังกล่าว กระทำตามนโยบายการโอนธุรกิจ
บริษัทในเครือธนาคารให้ลดน้อยลงตามภาวะเศรษฐกิจ ไม่ใช่การโอนเพื่อหาผลประโยชน์จากการเป็น
สมาชิกตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้น จึงไม่เป็นรายการปกติอื่น ๆ ที่ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม
บริษัทฯ จึงหารือว่า การที่บริษัทฯ โอนการเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ดังกล่าว บริษัทฯ
ไม่ต้องตีมูลค่าของการเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์เพื่อเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก บล*. ท. จำกัด
ถูกต้องหรือไม่ หากความเข้าใจของบริษัทฯ ไม่ถูกต้อง บริษัทฯ จะต้องออกใบกำกับภาษีและเรียกเก็บ
ภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อใด เมื่อบริษัทฯ ตีมูลค่าสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ได้เรียบร้อยแล้วใช่หรือไม่ และหากต้อง
เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีในวันโอนการเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์แล้ว ขณะนี้บริษัทฯ
ยังไม่ได้ดำเนินการแต่อย่างใด จึงขอให้แนะนำวิธีการออกใบกำกับภาษีรวมทั้งวันที่ที่ต้องระบุใน
ใบกำกับภาษี และขอให้ยกเว้นเบี้ยปรับ และเงินเพิ่มจากการยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม และ
ออกใบกำกับภาษีล่าช้ากว่าที่กำหนดให้ด้วย เนื่องจากบริษัทฯ ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษี และเป็น
ผู้เสียภาษีที่ดีตลอดมา
แนววินิจฉัย: 1. บริษัทฯ โอนสิทธิการเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ให้กับ บล*. ท. จำกัด ซี่ง*เป็นการ
โอนทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/1(8) แห่ง
ประมวลรัษฎากร บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79 แห่ง
ประมวลรัษฎากร โดยต้องมีราคาไม่ต่ำกว่าราคาตลาดในวันที่มีการโอนสิทธินั้น
2. ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในกรณีดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาสินค้า
เว้นแต่ได้มีการโอนกรรมสิทธิ์สินค้า หรือออกใบกำกับภาษีก่อน ตามข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 189
(พ.ศ. 2534)ฯลฯ กรณีบริษัทฯ ได้โอนการเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ให้กับ บล*. ท. จำกัด ตั้งแต่วันที่
1 ตุลาคม 2542 บริษัทฯ จึงมีหน้าที่ต้องจัดทำใบกำกับภาษีเมื่อมีการโอนตามมาตรา 86 แห่ง
ประมวลรัษฎากร
3. บริษัทฯ มิได้ออกใบกำกับภาษี และมิได้เสียภาษีตาม 2. จึงต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับ
ตามมาตรา 89(3)(4) และ (5) แห่งประมวลรัษฎากร แต่กรณีมีเหตุอันควรผ่อนผัน จึงงดเบี้ยปรับ
ตามมาตรา 89 แห่งประมวลรัษฎากรให้ สำหรับเงินเพิ่ม ตามกฎหมายไม่อาจงดหรือลดให้ได้
เลขตู้: 63/29070

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020