เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/พ.3527
วันที่: 3 พฤษภาคม 2543
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีขายบัญชีลูกหนี้
ข้อกฎหมาย: มาตรา 78(1), มาตรา 91/2(8)
ข้อหารือ: บริษัทฯ ประกอบธุรกิจผลิตเม็ดพลาสติกประเภทโพลิเอททีลีน ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินกับ
สถาบันการเงินเพื่อนำไปใช้ในการก่อสร้างโรงงาน และในสัญญาดังกล่าวกำหนดเงื่อนไขให้บริษัทฯ ต้อง
ดำรงอัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้นไม่เกินกว่า 2:1 เมื่อบริษัทฯ เริ่มประกอบกิจการได้
ดำเนินการขายผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้า โดยขายแบบให้สินเชื่อระยะสั้น ซึ่งทำให้บริษัทฯ มีบัญชีลูกหนี้การค้าที่จะ
ได้รับชำระเหลืออยู่ในงบการเงินของบริษัทฯ และจะส่งผลกระทบกับสัดส่วนระหว่างหนี้สินต่อส่วนของ
ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ด้วยเหตุดังกล่าวบริษัทฯ จึงได้โอนขายบัญชีลูกหนี้ของบริษัทฯ ให้แก่บริษัท ป. จำกัด
โดยโอนทั้งสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาที่บริษัทฯ มีอยู่กับลูกค้าไปให้บริษัทผู้ซื้อ บริษัทฯ จะไม่มีความเกี่ยวข้อง
กับลูกค้าอีกแต่อย่างใด บริษัทฯ หารือว่า
1. การขายบัญชีลูกหนี้ดังกล่าวอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
2. หากอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อบริษัทฯ เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากบริษัท
ผู้ซื้อ ภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวจะถือเป็นภาษีซื้อของบริษัทผู้ซื้อได้หรือไม่
3. เนื่องจากการขายสินค้าระหว่างบริษัทฯ กับลูกค้าได้มีการส่งมอบสินค้าแล้ว ซึ่งทำให้
ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นแล้ว หากต่อมาเมื่อหนี้ที่รับโอนมาถึงกำหนดชำระ บริษัทผู้ซื้อ
ได้รับค่าสินค้าจากลูกค้าบริษัทผู้ซื้อจะต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากลูกค้าอีกหรือไม่
แนววินิจฉัย: 1. การขายบัญชีลูกหนี้ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นการขายบัญชีลูกหนี้การขายสินค้าที่
ความรับผิดในการขายสินค้าเกิดขึ้นเมื่อมีการส่งมอบสินค้าตามมาตรา 78(1) แห่งประมวลรัษฎากร และ
บริษัทฯ ได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากลูกค้าแล้ว เมื่อบริษัทฯ ขายบัญชีลูกหนี้ดังกล่าวออกไป จึงไม่อยู่ใน
บังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีก
2. กรณีบริษัทผู้ซื้อรับซื้อหนี้ดังกล่าว ไม่ใช่เป็นการให้สินเชื่อ การให้กู้ยืม และการ
ทดรองจ่ายแก่ผู้ขายที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/2(8) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดกิจการที่ต้องเสีย
ภาษีธุรกิจเฉพาะ และกำหนดฐานภาษีสำหรับกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะบางกรณี (ฉบับที่ 358)
พ.ศ.2542 มาตรา 3
เลขตู้: 63/29253

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020