เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/พ.4893
วันที่: 16 มิถุนายน 2543
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจำหน่ายกรดไขมันดิบของพืช
ข้อกฎหมาย: มาตรา 81(1)(ก)
ข้อหารือ: 1. บริษัทฯ เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันพืชภายในประเทศ โดยใช้ถั่วเหลืองเป็น
วัตถุดิบหลัก และใช้เมล็ดทานตะวันเป็นวัตถุดิบรองในการสกัดน้ำมัน กรรมวิธี ในการผลิตน้ำมันพืชจากถั่ว
เหลืองหรือเมล็ดทานตะวันจะแตกต่างกับการผลิตน้ำมันพืชจากผลปาล์ม ดังนั้น การวินิจฉัยว่าวัตถุพลอยได้
ของการผลิตน้ำมันพืชจากวัตถุดิบทั้ง 2 ประเภทดังกล่าว จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ จึงต้องแยก
การพิจารณาออกจากกัน
2. ขบวนการผลิตน้ำมันพืชจากถั่วเหลืองหรือเมล็ดทานตะวัน แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนที่
สำคัญ คือ
(1) ขั้นตอนการสกัดน้ำมันดิบจากเมล็ดถั่วเหลืองหรือเมล็ดทานตะวัน
(1.1) การเตรียมวัตถุดิบ จะนำเมล็ดถั่วเหลืองหรือเมล็ดทานตะวันมาขบ
ให้แตกและนำไปให้ความร้อน แล้วรีดเป็นแผ่น
(1.2) การสกัดน้ำมัน (EXTRACTION) นำแผ่นวัตถุดิบตาม (1.1) มา
ผสมกับตัวทำละลาย (สาร HEXANE) เพื่อให้น้ำมันในเมล็ดออก
มาจับกับสาร HEXANE จะได้
(1.2.1) น้ำมันดิบปนตัวทำละลาย เรียกว่า MISCELLA และ
(1.2.2) กากปนสารละลาย
- จาก (1.2.1) จะนำ MISCELLA ไปให้ความร้อนด้วยเครื่อง
EVAPORATOR และ STRIPING COLUMN เพื่อระเหยตัวทำละลาย
ออกจากน้ำมันดิบ จะได้น้ำมันดิบ จากนั้นนำน้ำมันดิบ ผ่านขบวนการแยก
ยางเหนียว (DEGUMMING) โดยเติมน้ำร้อนแล้วใช้เครื่องเหวี่ยงยาง
เหนียว (GUM) ให้ตกตะกอน จะได้
- น้ำมันดิบแยกยางเหนียวแล้วนำเข้าสู่ขบวนการผลิตน้ำมันถั่วเหลือง
ในขั้นตอนที่ 2 และ
- ตะกอนยางเหนียว จะนำไปผสมกาก หรือผลิตเป็น LECITHIN
- จาก (1.2.2) จะนำกากปนสารละลายไปให้ความร้อนด้วยเครื่อง
DESOLVENTIZER และ TOASTER เพื่อระเหยตัวทำละลายออกจาก
กาก และนำกากไปนึ่งให้สุก ไล่ความชื้น อบให้แห้ง และป่นเพื่อขาย
โรงงานอาหารสัตว์
(2) ขั้นตอนการผลิตน้ำมันถั่วเหลืองผ่านกรรมวิธีนำน้ำมันดิบที่ได้จากขั้นตอน
แรก เข้าสู่ขบวนการ NEUTRALIZATION เพื่อกำจัดกรดไขมันอิสระ
(FREE FATT ACID = FFA) โดยเติมโซดาไฟ เพื่อทำปฏิกิริยากับ
FFA จะได้
(2.1) น้ำมัน และ
(2.2) สบู่ (SOAP STOCK)
- นำน้ำมัน ตาม (2.1) มา เข้าขบวนการฟอกสี
(BLEACHING) โดยเติมดินฟอกสี และ เข้าขบวนการกำจัด
กลิ่น (DEODORIZATION)โดยเข้าหอกลั่นเพื่อกลั่นน้ำมันที่
อุณหภูมิสูงจะได้น้ำมันพืชบริสุทธิ์ ใช้บริโภคได้
- สบู่ ตาม (2.2) จะนำไปเข้า "ขบวนการผลิตกรดน้ำมัน
ถั่วเหลืองดิบ (ACID OIL) "โดยนำไปให้ความร้อนด้วย
ไอน้ำ แล้วเติมกรดซัลฟูริค เพื่อทำปฏิกิริยากับสบู่ให้น้ำมัน
ลอยตัวขึ้นมา จากนั้นเติมสารลดแรงตึงผิว เพื่อช่วยให้ทำ
ปฏิกิริยาดีขึ้น แล้วนำน้ำมันดังกล่าวไปเติมน้ำร้อน เพื่อล้าง
กรดซัลฟูริคที่เหลืออยู่ให้หมด เพื่อปรับสภาพให้กรดน้ำมันถั่ว
เหลืองดิบมีความเป็นกรด เป็นด่าง (PH) สูงขึ้น จากนั้น
นำเข้าเครื่องเหวี่ยง เพื่อแยกกรดน้ำมันถั่วเหลืองดิบ
ออกจากน้ำกรด กรดน้ำมันถั่วเหลืองดิบ (ACID OIL) ที่ได้
จะเก็บไว้ในแท้งค์เพื่อรอจำหน่ายเป็นอาหารสัตว์ ส่วน
น้ำกรด จะส่งเข้าขบวนการบำบัดน้ำเสียต่อไป
แนววินิจฉัย: เนื่องจากกรดไขมันดิบมิใช่เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลพลอยได้จากขั้นตอนการผลิตน้ำมันพืช
โดยตรง เพราะต้องนำผลพลอยได้จากการผลิตน้ำมันพืช คือ สบู่ ไปผ่านขบวนการผลิตกรดไขมันดิบ เพื่อ
ให้ได้เป็นกรดไขมันดิบอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้น กรดไขมันดิบ (ACID OIL) จึงเป็นสินค้าที่ผ่านการแปรรูปหรือ
แปรสภาพมาแล้ว ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(1)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร แต่
อย่างใด
เลขตู้: 63/29440

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020