เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/5185
วันที่: 23 มิถุนายน 2543
เรื่อง: ภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีภาระภาษีของ “กองทุนพิเศษเกี่ยวกับการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา”
ข้อกฎหมาย: มาตรา 40(8), มาตรา 56, มาตรา 81/1
ข้อหารือ: ภาคเอกชนซึ่งเป็นเจ้าของสิทธิและตัวแทนของสิทธิในธุรกิจเกี่ยวกับสิ่งบันทึกเสียง สิ่งบันทึก
ภาพ เครื่องหมายการค้า และซอฟแวร์ได้รวมตัวกันจัดตั้ง “กองทุนพิเศษเกี่ยวกับการป้องปรามการ
ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา” ซึ่งมีคณะกรรมการกองทุนพิเศษเกี่ยวกับการป้องปรามการละเมิด
ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนภาครัฐในการ
ปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา พัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา เช่น ตำรวจ
อัยการ ศาลและส่งเสริมความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญาให้แก่ประชาชนทั่วไป ได้ร่วมกันบริจาคเงินเข้า
กองทุนฯ ในเบื้องต้นรวม 13 ราย เป็นจำนวนเงิน 2,095,000 บาท ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวมีแหล่ง
ที่มาจากบริษัทภายในประเทศ และบริษัทในต่างประเทศโดยบริจาคผ่านสำนักงานตัวแทนที่อยู่ใน
ประเทศไทย เพื่อให้สำนักงานตัวแทนนำเงินส่งมอบเข้ากองทุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ของ
กองทุนฯ
กองทุนฯ จึงหารือเกี่ยวกับภาระภาษีของกองทุนฯ และของผู้บริจาค ดังนี้
1. กองทุนฯ ซึ่งดำเนินงานโดยคณะกรรมการกองทุนฯ เมื่อได้รับเงินบริจาคเข้ากองทุนฯ
มีภาระภาษีอย่างไร และคณะกรรมการกองทุนฯ จะต้องดำเนินการอย่างไรบ้างในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ
กรมสรรพากร
2. บริษัทที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในประเทศไทยที่ได้บริจาคเงินเข้ากองทุนฯ สามารถนำ
หลักฐานการบริจาคเงินจากกองทุนฯ ไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้หรือไม่
อย่างใด
3. กรณีบริษัทจดทะเบียนในต่างประเทศได้โอนเงินมาเพื่อบริจาคให้แก่กองทุนฯ โดยโอน
ผ่านสำนักงานตัวแทนของบริษัทต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นบริษัทไทยที่เป็นสำนักงานทนายความหรือสำนักงาน
กฎหมายที่ดูแลเรื่องสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับลิขสิทธิ์หรือเครื่องหมายการค้าของบริษัทต่างประเทศ และให้
สำนักงานตัวแทนส่งมอบให้กองทุนฯ โดยไม่หักค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด สำนักงานตัวแทนเมื่อได้รับเงินโอน
จากบริษัทต่างประเทศจะมีภาระภาษีหรือไม่อย่างใด
4. กรณีกองทุนฯ จะได้จัดงานหารายได้เข้ากองทุนฯ เพิ่มเติมในอนาคตเช่น การจัดฉาย
ภาพยนตร์ การจัดแสดงคอนเสิร์ตโดยการสนับสนุนของภาคเอกชน รายได้จากการจัดงานดังกล่าว จะ
ต้องเสียภาษีอย่างใดหรือไม่
แนววินิจฉัย: 1. กรณีตาม 1. กองทุนฯ โดยคณะกรรมการกองทุนฯ ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ในนามคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้แก่คณะกรรมการกองทุนฯ
ดังนั้นกรณีที่กองทุนฯ ได้รับเงินบริจาคซึ่งถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่ง
ประมวลรัษฎากร จึงมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแต่ละปี ดังนี้
(1) ครั้งที่ 1 จะต้องนำเงินได้ดังกล่าวที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน
ไปยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (แบบ ภ.ง.ด.94) ภายในเดือนกันยายนของ
ทุกปี ทั้งนี้ตามมาตรา 56 ทวิแห่งประมวลรัษฎากร
(2) ครั้งที่ 2 จะต้องนำเงินได้ดังกล่าวที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม
ของทุกปี ไปยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90) ภายในเดือนมีนาคม
ของปีถัดไป ทั้งนี้ตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้นำภาษีที่ชำระไว้แล้วในครั้งที่ 1 มาถือ
เป็นเครดิตหักออกจากภาษีที่จะต้องชำระในครั้งที่ 2
อนึ่ง คณะกรรมการกองทุนฯ จะต้องยื่นคำร้องขอมีและใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
ภายใน 60 วันนับแต่วันที่มีเงินได้พึงประเมิน โดยให้ยื่นต่อสรรพากรพื้นที่ ณ สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่
ที่ผู้ยื่นคำร้องมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ ทั้งนี้ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสีย
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีและใช้เลขประจำตัวในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 5)
ลงวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2539
2. กรณีตาม 2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่บริจาคเงินเข้ากองทุนฯ ไม่มีสิทธินำเงิน
บริจาคดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 ตรี
(3) แห่งประมวลรัษฎากร
3. กรณีตาม 3. เงินบริจาคที่บริษัทสำนักงานตัวแทนของบริษัทต่างประเทศได้รับโอนจาก
บริษัทต่างประเทศเพื่อบริจาคให้แก่กองทุนฯ และสำนักงานตัวแทนได้นำเงินดังกล่าวไปส่งมอบให้แก่
กองทุนฯ โดยไม่มีการหักค่าใช้จ่าย และมีหลักฐานพิสูจน์การรับเงินและการส่งมอบเงินแก่กองทุนฯ ได้ว่า
เป็นจำนวนเงินเดียวกัน ย่อมไม่ถือเป็นรายได้ของบริษัทสำนักงานตัวแทนที่จะต้องนำมาเพื่อรวมคำนวณ
เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
4. กรณีตาม 4. กรณีกองทุนฯ จะจัดงานหารายได้เข้ากองทุนฯ มีภาระภาษีดังนี้
(1) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา รายได้จากการจัดงานเข้าลักษณะเป็น
เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องนำมารวมคำนวณเพื่อยื่น
แบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 56 และมาตรา 56 ทวิ แห่ง
ประมวลรัษฎากร
(2) ภาษีมูลค่าเพิ่ม การจัดงานหารายได้ดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการให้บริการอยู่ใน
บังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร โดยหากกองทุนฯ มีรายรับจาก
การขายสินค้าและการให้บริการไม่เกิน 1,200,000 บาทต่อปี จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตาม
มาตรา 81/1 แห่งประมวลรัษฎากร และพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 354) พ.ศ. 2542 แต่หากมี
รายรับจากการขายสินค้าและให้บริการเกิน 1,200,000 บาทต่อปี จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยจะ
ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วันนับแต่วันที่เริ่มประกอบกิจการ
เลขตู้: 63/29499

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020