เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/31963
วันที่: 16 สิงหาคม 2543
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินที่ลูกจ้างได้รับจากการที่ลูกจ้างขอลาออกและนายจ้างเลิกจ้างในขณะเดียวกัน
ข้อกฎหมาย: มาตรา 42(17)
ข้อหารือ: บริษัทฯ ประสบปัญหาขาดทุนเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของประเทศ จึงได้ปรับปรุง
โครงสร้างการบริหารงานโดยการเลิกจ้างพนักงานในปี 2541 โดยในหนังสือบอกกล่าวการเลิกจ้างได้มี
“ส่วนที่เป็นหนังสือลาออกจากการเป็นพนักงาน” และ “ส่วนที่เป็นหนังสือเลิกจ้าง” เพื่อให้สิทธิพนักงานที่
จะเลือกลงชื่อในส่วนใดก็ได้ และบริษัทฯ ก็ได้จ่ายเงินตามหลักเกณฑ์ค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานให้แก่
พนักงานผู้นั้น บริษัทฯ จึงหารือว่า กรณีพนักงานลงลายมือชื่อขอลาออกแต่ไม่ลงลายมือชื่อรับทราบการถูก
เลิกจ้างจะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีสำหรับค่าชดเชยที่ได้รับตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 217 (พ.ศ. 2542)
ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรหรือไม่
แนววินิจฉัย: กรณีที่บริษัทฯ เลิกจ้างและพนักงานได้แสดงเจตนาขอลาออกด้วยนั้น แม้บริษัทฯ จะได้จ่าย
เงินให้แก่พนักงานตามหลักเกณฑ์เงินชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แต่เงิน
จำนวนดังกล่าวไม่ถือเป็นเงินชดเชยการเลิกจ้างตามมาตรา 118 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. 2541 แต่ถือเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อช่วยเหลือหรือเงินตอบแทนการทำงานที่เป็นประโยชน์แก่
ลูกจ้าง พนักงานผู้นั้นจึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามข้อ 2(51) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่
126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย
กฎกระทรวง ฉบับที่ 217 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
แต่อย่างใด
เลขตู้: 63/27798

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020