เมนูปิด

 

เลขที่หนังสือ: กค 0706/6982
วันที่: 22 กรกฎาคม 2547
เรื่อง: การอายัดเงินค้ำประกันสัญญาจ้าง
ข้อกฎหมาย: มาตรา 12
ข้อหารือ: ขอหารือเรื่องส่งคำสั่งอายัดทรัพย์สินให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด เพื่อนำส่งเงินค้ำประกัน
การปฏิบัติตามสัญญารับเหมาก่อสร้าง ราย ห้างหุ้นส่วนจำกัด แต่องค์การบริหารส่วนจังหวัดแจ้งว่ายังไม่
สามารถนำส่งเงินค้ำประกันตามคำสั่งอายัดได้ โดยอ้างว่าห้างฯ ยังมีข้อผูกพันตามสัญญาซึ่งต้องรับประกัน
ความชำรุดบกพร่องของงานตามระยะเวลาที่กำหนด สิทธิเรียกร้องของห้างฯ ในเงินค้ำประกันดังกล่าว
ยังไม่เกิดจนกว่าจะพ้นระยะเวลาตามสัญญา องค์การบริหารส่วนจังหวัดจึงมีสิทธิที่จะเก็บเงินประกันความ
ชำรุดบกพร่องได้จนกว่าจะหมดภาระการค้ำประกันตามหนังสือตอบข้อหารือของสำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่ง
กรณีดังกล่าวขัดแย้งกับการตอบข้อหารือของกรมสรรพากร เรื่อง การอายัดเงินประกันตามสัญญาจ้างของ
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ประยงค์ก่อสร้างว่า เทศบาล (ผู้ว่าจ้าง) เป็นเพียงผู้ครอบครองเงินจำนวนนั้น (เงิน
ค้ำประกันสัญญา) ไว้และคืนให้แก่ห้างฯ ผู้รับจ้าง เมื่อสิ้นสุดสัญญาค้ำประกัน กรรมสิทธิ์ในเงินจำนวน
ดังกล่าวยังเป็นของห้างฯ กรมสรรพากรในฐานะเจ้าหนี้ภาษีอากรจึงชอบที่จะใช้อำนาจตามมาตรา 12
แห่งประมวลรัษฎากร อายัดเงินจำนวนดังกล่าวและเทศบาลฯ ต้องปฏิบัติตามคำสั่งอายัดที่ออกโดย
ชอบด้วยกฎหมาย
แนววินิจฉัย: เงินค้ำประกันของห้างฯ ที่มอบให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่านครอบครองเป็นประกันความ
ชำรุดบกพร่องของงานตามสัญญารับเหมาก่อสร้าง เป็นข้อตกลงทางแพ่งระหว่างคู่สัญญาไม่มีผลผูกพัน
กรมสรรพากรซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ดังนั้น เมื่อองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่านมิได้มีสิทธิยึดหน่วง
เงินประกันสัญญาของห้างฯ ตามมาตรา 241 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เงินค้ำประกันตาม
สัญญาดังกล่าวยังคงเป็นทรัพย์สินของห้างฯ และห้างฯ มีหนี้ภาษีอากรที่จะต้องรับผิดชำระต่อกรมสรรพากร
อธิบดีกรมสรรพากรในฐานะเจ้าหนี้ภาษีอากรหรือผู้ว่าราชการจังหวัด จึงมีอำนาจดำเนินการตามมาตรา
12 แห่งประมวลรัษฎากร กับเงินประกันสัญญาซึ่งเป็นทรัพย์สินของห้างฯ เพื่อชำระหนี้ภาษีอากรค้าง ที่
ห้างฯ ต้องรับผิดชำระและองค์การบริหารส่วนจังหวัดจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งอายัดทรัพย์สินของห้างฯ
ดังกล่าวที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมาย
เลขตู้: 67/33049


 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020