เมนูปิด

 

เลขที่หนังสือ: กค 0706/5459
วันที่: 10 มิถุนายน 2547
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืม
ข้อกฎหมาย: มาตรา 47(1)(ข)
ข้อหารือ: 1. นาย น มีเงินได้ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร เงินเดือน จากธนาคาร
จำนวน 726,852.28 บาท ภาษีหัก ณ ที่จ่าย จำนวน 64,365.09 บาท
2. นาง ส ภรรยาได้จดทะเบียนสมรสเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2535 มีเงินได้ตามมาตรา
40(1) แห่งประมวลรัษฎากร จาก บริษัท สาขากรุงเทพฯ จำกัด จำนวน 210,856.-บาท ภาษีหัก ณ
ที่จ่าย จำนวน 10,149.-บาท เงินได้ที่จ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานจาก
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จำนวน 297,952.58.-บาท ภาษีหัก ณ ที่จ่าย จำนวน 7,447.63 บาท และ
เงินเดือนจาก บริษัท ม จำกัด จำนวน 356,672.-บาท ภาษีหัก ณ ที่จ่าย จำนวน 20,552.62 บาท
3. นาย น และนาง ส ขอหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืม คนละ 25,000.-บาท โดยมี
รายละเอียดการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ดังนี้
(1) นาย น ได้ซื้อบ้านจากนาย ช เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2530 และจำนองเป็นประกันกับ
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
(2) นาย น ไถ่ถอนจำนองจากธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และจำนองต่อกับ
ธนาคารซิตี้แบงค์ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2533
(3) ในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2542 นาย น ได้ไถ่ถอนจำนองจากธนาคารซิตี้แบงค์ แล้ว
นำมาขายให้แก่นาง ส และนาง ส ได้นำไปจำนองกับธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ในวันเดียว
กัน
แนววินิจฉัย: กรณีนาย น ได้ขอหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ซึ่งนาย น ได้ซื้อบ้านเมื่อวันที่
5 มีนาคม 2530 โดยจำนองเป็นประกันหนี้กับธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และไถ่ถอนจำนอง
จากธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) แล้วนำมาจำนองกับธนาคารซิตี้แบงค์ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม
2533 นาย น จึงมีสิทธิหักลดหย่อนได้เต็มจำนวนตามสิทธิ ต่อมาเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2535 นาย น ได้
จดทะเบียนสมรสกับนาง ส และนาย น ได้ไถ่ถอนบ้านหลังดังกล่าวจากธนาคารซิตี้แบงค์ เมื่อวันที่ 4
พฤศจิกายน 2542 แล้วนำมาขายให้นาง ส โดยนาง ส ได้นำไปจำนองกับธนาคารกสิกรไทย จำกัด
(มหาชน) ในวันเดียวกัน ดังนั้น ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีปี 2544 ซึ่งความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่
ตลอดปีภาษี โดยนาย น และนาง ส ได้แยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีโดยยื่นแบบฉบับ
เดียวกัน การหักลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากรนั้น ให้
นาย น และนาง ส ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนได้กึ่งหนึ่งของจำนวนที่จ่ายจริงแต่รวมกันไม่เกิน 10,000
บาท ตามข้อ 2(9) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 86) เรื่อง กำหนด
หลักเกณฑ์และวิธีการ การหักลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47(1)(ซ) แห่ง
ประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 และได้รับสิทธิยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสีย
ภาษีเงินได้อีกจำนวนกึ่งหนึ่งของจำนวนที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่รวมกันไม่เกิน
40,000 บาท ตามข้อ 2(53) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความใน
ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 226 (พ.ศ.
2543)ฯ ประกอบกับข้อ 1(9) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 88)
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ย
เงินกู้ยืม สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือ
สร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ตามข้อ 2(53)แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตาม
ความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
อย่างไรก็ตามผู้มีเงินได้ที่จะใช้สิทธิหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีดังกล่าวไม่ต้องแนบสำเนาทะเบียนบ้านของ
ผู้มีเงินได้เพื่อใช้สิทธิแต่อย่างใด
เลขตู้: 67/32975


 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020