เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0706(กม.02)/297
วันที่: 7 เมษายน 2547
เรื่อง: ภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีใช้สิทธิตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
ข้อกฎหมาย: ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ ลงวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2544
ข้อหารือ: 1. กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะซึ่งใช้สิทธิตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง ขยาย
กำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีการขายอสังหาริมทรัพย์เป็น
ทางค้าหรือหากำไร ตามมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2544
ผู้เสียภาษีจะต้องชำระภาษีรวมเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 0.75 เป็นเงิน 9,000 บาท ขอผ่อนชำระ 3
งวด งวดแรกจำนวน 1,000 บาท งวดที่ 2 จำนวน 4,000 บาท งวดที่ 3 จำนวน 4,000 บาท กรณี
ดังกล่าวผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะจะได้รับสิทธิในการคำนวณเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 0.75 ทุกงวด
หรือไม่
2. กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะขอผ่อนชำระ 3 งวด ๆ ละเท่า ๆ กันผู้เสียภาษีได้
ชำระงวดแรกตามกำหนด แต่งวดที่ 2 และงวดที่ 3 ผิดเงื่อนไขไม่ชำระตามกำหนด กรณีดังกล่าว ถ้า
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นอันหมดสิทธิในการผ่อนชำระ แต่จำนวนเงินงวดแรกที่ชำระไปแล้วจะ
ยังคงได้รับสิทธิในการคำนวณเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 0.75 อยู่อีกหรือไม่ และการผิดนัดของงวดถัดมา
จะเริ่มคำนวณเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนตั้งแต่เมื่อใด
แนววินิจฉัย: กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะได้รับสิทธิตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯลงวันที่ 7
สิงหาคม พ.ศ. 2544 แต่ผิดนัดชำระภาษีธุรกิจเฉพาะในงวดที่สองของการชำระภาษีเป็นรายงวด จึง
หมดสิทธิที่จะชำระภาษีเป็นรายงวด ตามข้อ 2 วรรคสองของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ ลงวันที่ 7
สิงหาคม พ.ศ. 2544 แต่เนื่องจากประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าวมีเจตนารมณ์เพื่อผ่อนผันให้
ผู้เสียภาษีชำระภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นเวลาสามงวดภายในกำหนด ดังนั้น กรณีผู้เสียภาษีได้มีการผ่อนชำระ
ภาษีครบถ้วนภายในกำหนดเวลาที่ขยายให้แม้ว่าจำนวนเงินผ่อนชำระในแต่ละงวดไม่เท่ากัน หรือ
ระยะเวลาการผ่อนชำระงวดที่สองไม่เป็นไปตามที่ตกลง ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะก็จะได้รับสิทธิเสีย
ภาษีธุรกิจเฉพาะตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าว ดังนั้น ผู้เสียภาษีจึงไม่ต้องรับผิดเสีย
เบี้ยปรับ แต่ยังคงต้องชำระภาษีธุรกิจเฉพาะและเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 0.75 ต่อเดือนหรือเศษของ
เดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันที่ชำระภาษี
เลขตู้: 67/32927

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020