เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0706/7626
วันที่: 16 สิงหาคม 2547
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายค่าตอบแทนการเช่าเครื่องบิน
ข้อกฎหมาย: มาตรา 33, มาตรา 70, มาตรา 40(5), มาตรา 82/13, มาตรา 79, มาตรา 83/6(2)
ข้อหารือ: บริษัท A. ประกอบกิจการให้บริการขนส่งโดยอากาศยานทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ
ในการประกอบกิจการบริษัทฯ ได้มีการขยายการให้บริการการบินระหว่างประเทศ บริษัทฯ จึงทำ
สัญญาเช่าเครื่องบินจากบริษัท B. ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในประเทศฟิลิปปินส์ ในการเช่าเครื่องบิน
ดังกล่าว บริษัทฯ ตกลงเช่าเป็นรายชั่วโมง มีการกำหนดจำนวนชั่วโมงการเช่าขั้นต่ำไว้ 30 ชั่วโมงต่อ
เดือน หากเดือนใดใช้ไม่ถึง 30 ชั่วโมง สามารถนำจำนวนชั่วโมงที่เหลือไปใช้ในเดือนถัด ๆ ไปได้ แต่
หากเดือนใดมีการใช้เกินกว่า 30 ชั่วโมง บริษัทฯ ต้องจ่ายค่าตอบแทนเพิ่มเป็นรายชั่วโมง โดยบริษัท
B. จะเป็นผู้จัดหาลูกเรือประจำเครื่องบิน บริษัทฯ มีการจ่ายค่าตอบแทน ดังนี้
1. ค่าเช่าเครื่องบินในอัตราต่อเดือนที่แน่นอน ซึ่งคิดจากค่าเช่าจำนวน 30 ชั่วโมง เว้นแต่
จะมีการใช้เครื่องบินเกินกว่า 30 ชั่วโมง จะต้องจ่ายค่าเช่าส่วนที่เกินเป็นรายชั่วโมงให้กับ บริษัท B.
2. ค่าเบี้ยเลี้ยงของลูกเรือ ซึ่งคิดเป็นรายวันในอัตราที่กำหนดไว้แน่นอน โดยบริษัทฯ ต้อง
จ่ายให้กับบริษัท B.
3. ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าพาหนะรับส่งลูกเรือ และค่าโทรศัพท์ของลูกเรือ ซึ่งบริษัทฯเป็น
ผู้จ่ายให้กับลูกเรือโดยตรง หรือบางกรณีต้องจ่ายให้ทางโรงแรมหรือผู้ที่ให้บริการแก่ลูกเรือ
บริษัทฯ ได้หารือว่าค่าตอบแทนตาม 1-3 เข้าลักษณะเป็นกำไรจากธุรกิจ ตามอนุสัญญา
ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน
และการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ และเมื่อบริษัท B. ไม่มี
สถานประกอบการถาวรในประเทศไทยจึงได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามอนุสัญญาดังกล่าว บริษัทฯ ไม่ต้อง
หักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายถูกต้องหรือไม่ นอกจากนี้ บริษัทฯ มีภาระต้องเสียภาษีอื่นใดอีกหรือไม่
แนววินิจฉัย: 1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
กรณีบริษัทฯ เช่าเครื่องบินจากบริษัท B. โดยมีการจ่ายค่าตอบแทนตามสัญญาเช่า แบ่ง
ออกเป็น จ่ายให้แก่บริษัท B. โดยตรง ซึ่งได้แก่ ค่าเช่าเครื่องบิน และค่าเบี้ยเลี้ยงของลูกเรือ
ค่าตอบแทนดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นเงินหรือประโยชน์เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สิน และจ่ายให้แก่ลูกเรือ
หรือผู้ให้บริการแก่ลูกเรือ ซึ่งได้แก่ ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าพาหนะรับส่งลูกเรือ และค่าโทรศัพท์ของ
ลูกเรือ ซึ่งการจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆให้แก่ลูกเรือดังกล่าว ก็เนื่องมาจากเป็นการปฏิบัติตามสัญญาเช่าที่
บริษัท B. ต้องจัดหาลูกเรือและเป็นผู้จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกเรือที่ได้เข้ามาปฏิบัติงานให้กับบริษัทฯ และให้
บริษัทฯ จ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้แก่ลูกเรือดังกล่าว ซึ่งหากบริษัทฯ ไม่รับภาระค่าใช้จ่ายดังกล่าว ย่อม
แน่นอนว่าการกำหนดค่าตอบแทนตามสัญญาเช่าเครื่องบินอันเป็นรายได้ของบริษัท B.ต้องสูงขึ้น เนื่องจาก
ต้องคิดคำนวณต้นทุนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของลูกเรือที่ บริษัท B.ต้องรับภาระเพิ่มขึ้น ดังนั้น
ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าพาหนะรับส่งลูกเรือ และค่าโทรศัพท์ของลูกเรือจึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าตอบแทนที่
บริษัทฯ ต้องจ่ายให้แก่ลูกเรือหรือผู้ให้บริการแก่ลูกเรือโดยตรง นอกเหนือไปจากค่าเช่าเครื่องบินและ
ค่าเบี้ยเลี้ยงที่บริษัทฯ จ่ายให้แก่บริษัท B. ย่อมเข้าลักษณะเป็นประโยชน์อย่างอื่นที่บริษัท B. ได้รับ ซึ่ง
อาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ซึ่งถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น กรณี
บริษัทฯ จ่ายค่าตอบแทนทั้งที่จ่ายให้แก่บริษัท B. โดยตรงและจ่ายให้แก่ลูกเรือหรือผู้ให้บริการแก่ลูกเรือ
ถือว่าเป็นการจ่ายให้แก่ บริษัท B. และเป็นการจ่ายเงินได้ที่เป็นเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นที่ได้
เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สินอันเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5) แห่ง
ประมวลรัษฎากร บริษัทฯ จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15 และ
นำส่งสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาตามแบบ ภ.ง.ด.54 ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่าย
เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร และเนื่องจากค่าตอบแทนตามสัญญาเช่า
เครื่องบินดังกล่าวเป็นค่าตอบแทนจากการใช้อุปกรณ์ในทางอุตสาหกรรม การพาณิชย์หรือวิทยาศาสตร์ ซึ่ง
เข้าลักษณะเป็นค่าสิทธิตามข้อ 13 วรรค 3 แห่งอนุสัญญาระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและ
รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรใน
ส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ ซึ่งประเทศไทยเป็นรัฐแหล่งเงินได้ย่อมมีอำนาจจัดเก็บได้ตาม
ประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ตามข้อ 13 วรรค 2 แห่งอนุสัญญาดังกล่าว
2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
กรณีบริษัท B. ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการ
นั้นในราชอาณาจักร ผู้ประกอบการที่ให้บริการในต่างประเทศมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และ
ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ตามมาตรา 82/13 แห่ง
ประมวลรัษฎากร โดยจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าตอบแทนที่บริษัทฯ จ่ายให้แก่บริษัท B. โดยตรง
และจ่ายให้แก่ลูกเรือหรือผู้ให้บริการแก่ลูกเรือตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ บริษัทฯ มี
หน้าที่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการมีหน้าที่เสียตามมาตรา 83/6(2) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 67/33090

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020