เมนูปิด

 

เลขที่หนังสือ: กค 0706/9997
วันที่: 9 พฤศจิกายน 2547
เรื่อง: ภาษีเงินได้ กรณีหนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ข้อกฎหมาย: มาตรา 40(8), มาตรา 50 ทวิ, มาตรา 69 ทวิ
ข้อหารือ: บริษัท ก. จำกัด ขอหารือแทนลูกค้าซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดประกอบกิจการค้าเครื่องมือแพทย์
เมื่อโรงพยาบาลของรัฐชำระค่าสินค้าจะคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และออกใบเสร็จรับเงินค่าภาษี
หัก ณ ที่จ่ายให้แก่ห้างฯ ซึ่งจะนำไปใช้ในการเครดิตภาษีในเวลายื่นแบบแสดงรายการ
ภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี แต่เมื่อปี 2545 เจ้าหน้าที่สรรพากรจังหวัดแจ้งให้ทราบว่า การใช้
ใบเสร็จรับเงินของโรงพยาบาลที่หักภาษี ณ ที่จ่าย มาใช้เครดิตภาษีไม่ได้เนื่องจากแบบฟอร์มไม่ถูกต้อง
ให้ห้างฯ แจ้งต่อโรงพยาบาลเพื่อขอออกให้ใหม่ เมื่อห้างฯ แจ้งให้โรงพยาบาลทราบก็ได้รับคำตอบว่าไม่
สามารถออกให้ใหม่ได้ เนื่องจากโรงพยาบาลใช้วิธีนี้มาตลอด บริษัทฯ จึงขอหารือว่า ห้างฯ จะนำ
ใบเสร็จรับเงินค่าภาษีหัก ณ ที่จ่ายของโรงพยาบาล ไปใช้ในการขอเครดิตได้หรือไม่ หากไม่ได้ห้างฯ
จะต้องรับผิดเสียภาษีอย่างใด และจะทำอย่างไรเพื่อให้โรงพยาบาลออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ
ที่จ่าย ที่ถูกต้อง
แนววินิจฉัย: กรณีโรงพยาบาลของรัฐจ่ายเงินค่าซื้อสินค้าซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่ง
ประมวลรัษฎากร ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจะต้องหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1.0 และ
ภาษีที่หักไว้ดังกล่าวให้ถือเป็นเครดิตภาษีในการคำนวณภาษีเงินได้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ตาม
รอบระยะเวลาบัญชีที่หักไว้นั้น ตามมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ การหักภาษี ณ ที่จ่าย
ตามมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น ใบเสร็จรับเงินของโรงพยาบาลของรัฐที่ออกให้แก่
ห้างหุ้นส่วนจำกัดที่แสดงการหักภาษี ณ ที่จ่าย และจำนวนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายไว้ ห้างหุ้นส่วนจำกัดจึง
มีสิทธินำไปเครดิตในการคำนวณภาษีเงินได้ตามมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 67/33206


 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020