เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0706/10500
วันที่: 25 พฤศจิกายน 2547
เรื่อง: การยกเว้นภาษี กรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
ข้อกฎหมาย: มาตรา 3 และมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 418)
ข้อหารือ: บริษัทฯ ประกอบกิจการธุรกิจโรงแรม รับค้ำประกันหนี้และให้กู้ยืมเงิน บริษัทฯ ได้ค้ำประกัน
หนี้ของบริษัทลูกหนี้ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ ที่ประกอบธุรกิจโรงแรมต่อสถาบันการเงิน ต่อมาบริษัท
ลูกหนี้นี้ผิดนัดชำระหนี้ บริษัทฯ จึงต้องชดใช้หนี้ให้สถาบันการเงินในฐานะผู้ค้ำประกัน โดยบริษัทลูกหนี้ได้
ชดใช้หนี้และดอกเบี้ยให้บริษัทฯ เป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน บริษัทฯ จึงมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ เนื่องจากบริษัทลูกหนี้
ประสบปัญหาทางการเงิน และจะต้องปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงินอีกครั้งหนึ่ง บริษัทลูกหนี้ได้
ร้องขอให้บริษัทฯ เข้าร่วมปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงินดังกล่าวด้วย บริษัทฯ ต้องรับโอนที่ดิน
พร้อมอาคารโรงแรมซึ่งเป็นหลักประกันกับเจ้าหนี้สถาบันการเงินเพื่อเป็นการชำระหนี้ และต้องลดหนี้ที่
เหลือทั้งหมดให้ลูกหนี้เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ทั้งหมดของลูกหนี้
บริษัทฯ หารือว่า หากบริษัทฯ ยินยอมทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับบริษัทลูกหนี้และ
สถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศ
กำหนด บริษัทฯ จะมีสถานะเป็นเจ้าหนี้อื่นตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 418) พ.ศ.
2547 หรือไม่
แนววินิจฉัย: กรณีตามข้อเท็จจริง การที่บริษัทฯ ชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันให้แก่สถาบันการเงินแทนบริษัท
ลูกหนี้ จึงถือได้ว่าบริษัทฯ มีฐานะเป็นเจ้าหนี้อื่น ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 418)
พ.ศ. 2547 และเมื่อการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในครั้งนี้ได้ดำเนินการโดยนำหลักเกณฑ์การปรับปรุง
โครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดมาใช้โดยอนุโลม บริษัทฯ ใน
ฐานะเจ้าหนี้อื่นย่อมได้รับยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 418) พ.ศ.
2547
เลขตู้: 67/33214

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020