เมนูปิด

          1.ธ. จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ.2545 และเมื่อปี 2548 กระทรวงการคลังมีนโยบายให้ ธ. เป็นผู้ให้บริการทางการเงินตามหลักชะรีอะฮ์ เพื่อให้เป็นสถาบันการเงินตามหลักศาสนาอิสลามเพียงแห่งเดียว (เดิมธนาคาร A จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ให้บริการด้วย)ส่งผลให้ ธ. ต้องเพิ่มทุนให้เพียงพอในการบริหารงานและการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง


          2.ต่อมาเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2550 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้มีการเพิ่มทุนใน ธ. โดยให้กระทรวงการคลังมีสัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 48.54 ธนาคาร B ร้อยละ 39.88 ธนาคาร A จำกัด (มหาชน)ร้อยละ 9.83 ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของภาครัฐภายหลังการเพิ่มทุนเกินกว่าร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนมีผลให้ ธ. มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502


          3.ธ. ได้มีการจ่ายค่าเช่าที่พักให้แก่พนักงาน ธ. ที่มีคำสั่งโอนย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ประจำนอกเขตภูมิลำเนาตามที่ได้แจ้งไว้กับ ธ. โดยพนักงาน ธ. มีสิทธิเบิกค่าที่พักภายใต้เงื่อนไข หลักเกณฑ์ และอัตราค่าเช่าที่พัก ดังนี้


               3.1กรณีพนักงานที่มีภูมิลำเนาในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล (นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และนครปฐม) ที่โอนย้ายให้ไปปฏิบัติหน้าที่ ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล หากระยะทางโอนย้ายระหว่างที่พักพนักงานและหน่วยงานธนาคารมีระยะห่างกันเกิน 50 กิโลเมตร


               3.2กรณีพนักงานที่มีภูมิลำเนานอกเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล หากระยะทางโอนย้ายระหว่างที่พักพนักงาน และหน่วยงานธนาคารมีระยะห่างกันเกิน 50 กิโลเมตรชื่อตำแหน่งค่าเช่าที่พัก/เดือนพนักงาน, เจ้าหน้าที่/เจ้าหน้าที่อาวุโส/ผู้ช่วยผู้จัดการส่วน/ผู้ช่วยผู้จัดการสาขา/รองผู้จัดการสาขาจ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน3,000 บาทผู้จัดการส่วน/ผู้จัดการส่วนอาวุโส/ผู้จัดการสาขา/ผู้จัดการสาขาอาวุโส/ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย/ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนัก/รองผู้อำนวยการฝ่าย/รองผู้อำนวยการสำนัก/ผู้จัดการสำนักงานเขต/ผู้จัดการสำนัก จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน4,500 บาทผู้อำนวยการฝ่าย/ผู้อำนวยการสำนัก/ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส/ผู้อำนวยการสำนักอาวุโส/ผู้อำนวยการสำนักงานภาค/ผู้อำนวยการสำนักงานภาคอาวุโส/ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการธนาคาร/รองกรรมการผู้จัดการธนาคาร/รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน5,500 บาท


          4.ธ. ขอทราบว่า เงินค่าเช่าที่พักที่จ่ายให้กับพนักงาน เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นภาษีหรือไม่

          กรณีตามข้อเท็จจริง เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2550 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้มีการเพิ่มทุนใน ธ. ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของภาครัฐภายหลังการเพิ่มทุนเกินกว่าร้อยละห้าสิบของทุนจดทะเบียน มีผลให้ ธ. มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 ดังนั้น การที่ ธ. ได้จ่ายเงินค่าเช่าบ้านให้พนักงาน และหาก ธ. ผู้จ่ายเงินมิได้ออกค่าภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ดังกล่าวให้แก่พนักงาน เงินได้ดังกล่าวจึงได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 42 (17) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 (8) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร

เลขที่หนังสือ: 0702/6092 วันที่: 29 มิถุนายน 2558 เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณียกเว้นภาษีเงินได้จากเงินค่าเช่าบ้าน ข้อกฎหมาย : มาตรา 42 (17) แห่งประมวลรัษฎากร ข้อหารือแนววินิจฉัยเลขตู้: 78/39751

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020