เมนูปิด


          2. บริษัทฯ ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ขอคืนภาษีเงินได้นิติบุคคลชำระเกินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 2548 จำนวน 83,025.94 บาท และขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีมกราคม 2549 จำนวน 358,513.83 บาท ซึ่งเป็นการยกยอดเครดิตภาษีมูลค่าเพิ่มและขอคืนเป็นเงินสด


          3. จากการตรวจก่อนคืนเงินภาษี ปรากฏข้อเท็จจริงว่า


          3.1 บริษัทฯ ได้แสดงสัญญาจะซื้อจะขายเครื่องปักจักร ลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2546 ระหว่างบริษัท A จำกัด ผู้ขาย กับ นาง ก. ผู้ซื้อ เพื่อซื้อเครื่องปักจักรจำนวน 2 เครื่อง ราคา 5,900,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) โดยระบุว่า กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังไม่โอนไปยังผู้ซื้อจนกว่าจะได้ชำระราคาให้แก่ผู้ขายจนครบถ้วนแล้วและในวันทำสัญญา ผู้ซื้อจ่ายเงินมัดจำจำนวน 1,180,000 บาท ส่วนที่เหลือจำนวน 4,720,000 บาท แบ่งชำระเป็น 24 งวด ๆ ละ 196,667 บาท โดยจ่ายเช็คล่วงหน้าจากบัญชีกระแสรายวันของบริษัทฯ เป็นรายเดือนนับตั้งแต่ติดตั้งเครื่องปักจักร ณ ที่ทำการของผู้ซื้อ


          3.2 บริษัทฯ นำใบกำกับภาษีของบริษัท A ผู้ขาย ที่ออกให้ระบุว่า บริษัทฯ เป็นผู้ซื้อ มาขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม และคำนวณค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเครื่องปักจักรเป็นต้นทุนของบริษัทฯ


          3.3 บริษัทฯ ได้นำหนังสือต่อท้ายสัญญาจะซื้อจะขายเครื่องปักจักร ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2546 ซึ่งอ้างถึง หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายเครื่องปักจักร มาแสดง โดยระบุว่า บริษัทฯ มีการเปลี่ยนแปลงสัญญาจะซื้อจะขายเครื่องปักจักรกันใหม่ จากคู่สัญญาเดิมคือ นาง ก. เป็นบริษัทฯ


          จึงเห็นว่า สัญญาจะซื้อจะขายเครื่องปักจักรเป็นหนังสือที่จัดทำขึ้นเพื่อผูกพันผู้ซื้อกับผู้ขาย ซึ่งการจัดทำสัญญาใด ๆ ขึ้น ก็เพื่อผูกพันระหว่างบุคคลสองฝ่าย ดังนั้นหากจะกำหนดเงื่อนไขอื่นใดนอกเหนือจากที่แจ้งไว้ในสัญญา คู่สัญญาจะต้องเขียนข้อความหรือกำหนดเงื่อนไขอื่นใดนั้นไว้ในสัญญา เพื่อจะกล่าวถึงข้อความหรือเงื่อนไขที่จะกำหนดไว้ในที่อื่นด้วย ทั้งนี้ เพื่อ ให้มีผลผูกพันบุคคลผู้ทำสัญญาแต่สัญญาจะซื้อจะขายเครื่องปักจักรดังกล่าวไม่มีข้อความใดที่กล่าวถึงหนังสือต่อท้ายสัญญา


          จึงหารือว่า


          1. สัญญาจะซื้อจะขายเครื่องปักจักร เป็นสัญญาระหว่าง บริษัท A ผู้ขาย กับ นาง ก. ผู้ซื้อ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกใช่หรือไม่


          2. หนังสือต่อท้ายสัญญาจะซื้อจะขายเครื่องปักจักร ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2546 มีผลผูกพันหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายเครื่องปักจักรทางกฎหมายหรือไม่


          3. หากตาม 1. และ 2. มีผลตามกฎหมาย บริษัทฯ จะนำใบกำกับภาษีที่เกิดจากสัญญาจะซื้อจะขายเครื่องปักจักร ซึ่งผู้ขายออกให้บริษัทฯ มาใช้สิทธิขอคืนภาษีซื้อได้หรือไม่ และหากนำใบกำกับภาษีมาใช้ถือเป็นภาษีซื้อต้องห้าม ตามมาตรา 82/5(2) แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่


          ในการก่อตั้งบริษัท ผู้เริ่มก่อการย่อมต้องตระเตรียมการบางอย่างไว้ก่อน โดยผู้เริ่มก่อการอาจเข้าทำสัญญากับบุคคลภายนอกเพื่อประโยชน์ของบริษัทที่จะตั้งขึ้นหากต่อมาที่ประชุมตั้งบริษัทได้ให้สัตยาบันแก่บรรดาสัญญาซึ่ง ผู้เริ่มก่อการได้ทำไว้ สัญญาดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันบริษัท และผู้เริ่มก่อการย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญานั้น ทั้งนี้ ตามมาตรา 1108(2) และมาตรา 1113 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์


          กรณีตามข้อเท็จจริง ขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายเครื่องปักจักร บริษัทฯ ยังไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล และ อยู่ระหว่างการจดทะเบียนก่อตั้งบริษัท ดังนั้น หากปรากฏข้อเท็จจริงว่า นาง ก. เป็นผู้เริ่มก่อการบริษัทฯ และมีหลักฐานแสดงได้ว่า ที่ประชุมจัดตั้งบริษัทฯ ได้ให้สัตยาบันในการทำสัญญาดังกล่าวแล้ว สัญญานั้นย่อมมีผลผูกพันบริษัทฯ หรือ หากปรากฏข้อเท็จจริงว่า บริษัทฯ ได้เข้ารับเอาสัญญาที่ผู้เริ่มก่อการได้ทำไว้ โดยยอมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ตาม สัญญาจะซื้อจะขายเครื่องปักจักรดังกล่าว กล่าวคือ ได้เข้าถือเอาประโยชน์ในการใช้เครื่องปักจักร และได้ชำระราคาค่าเครื่องปักจักรดังกล่าวแทนนาง ก. เริ่มก่อการ สัญญาดังกล่าวก็ย่อมมีผลผูกพันบริษัทฯ อันถือเสมือนหนึ่งว่า บริษัทฯ ได้ให้สัตยาบันแก่สัญญาดังกล่าวที่ผู้เริ่มก่อการได้ทำไว้โดยปริยายแล้ว ทั้งนี้ เทียบได้กับคำพิพากษาฎีกา ที่ 2159/2543


          2. ประเด็นภาษีซื้อ


          หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า บริษัทฯ ได้ให้สัตยาบันแก่สัญญาจะซื้อจะขายเครื่องปักจักรดังกล่าว ไม่ว่าจะโดย ชัดแจ้งหรือโดยปริยายก็ตาม บริษัทฯ มีสิทธินำภาษีมูลค่าเพิ่มค่าเครื่องปักจักร ที่ถูกบริษัท A ผู้ขายเรียกเก็บ มาถือเป็น ภาษีซื้อในการคำนวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้ หากใบกำกับภาษีที่ได้รับนั้นไม่เป็นภาษีซื้อต้องห้าม มาตรา 82/5 แห่ง ประมวลรัษฎากร แต่บริษัทฯ ไม่มีสิทธินำภาษีมูลค่าเพิ่มค่าเครื่องปักจักรที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 8 ธันวาคม 2546 มาถือเป็น ภาษีซื้อในการคำนวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากบริษัทฯ ยังมิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตาม มาตรา 85 แห่งประมวลรัษฎากร

เลขที่หนังสือ: กค 0706/พ.11805
วันที่: 27 พฤศจิกายน 2550
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีขอคืนภาษีซื้อจากการซื้อเครื่องปักจักร
ข้อกฎหมาย: มาตรา 82/5(2) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          1. บริษัทฯ จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2546 และเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2546 ประกอบกิจการรับจ้างปักผ้า
แนววินิจฉัย          1. ประเด็นสัญญาจะซื้อจะขายเครื่องปักจักร
เลขตู้: 70/35478

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020