เมนูปิด


          1. บริษัทฯ (ผู้ซื้อสิทธิ) ได้ทำ "สัญญาขายสิทธิเรียกร้องในการซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง" กับบริษัท ย. (ผู้ขายสิทธิ) ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2549 ซึ่งตามสัญญาดังกล่าว ระบุในข้อ 1 ว่า "ผู้ขายสิทธิมีสิทธิเรียกร้องในการซื้อที่ดิน จังหวัดสมุทรปราการ พร้อมสิ่งปลูกสร้าง... จากบริษัท บริหารสินทรัพย์ ก. ตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ฉบับลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2548 ในราคา 64,000,000 บาท"


          2. บริษัทฯ (ผู้ซื้อสิทธิ) ต้องจ่ายค่าตอบแทนให้กับบริษัท ย. (ผู้ขายสิทธิ) ซึ่งระบุในข้อ 2 และข้อ 3ของสัญญา ดังนี้


          "ข้อ 2...


          2.2 ผู้ซื้อสิทธิตกลงให้ค่าตอบแทน (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) เป็นค่าสิทธิในการซื้อทรัพย์สินแก่ผู้ขาย สิทธิต่างหากจากราคาทรัพย์สินอีก ดังนี้


               2.2.1 ชำระเป็นเงินจำนวน 2,912,324.39 บาท ให้แก่ผู้ขายสิทธิ ภายในวันที่ 25 มกราคม 2550 และ


               2.2.2 ผู้ซื้อสิทธิตกลงชำระค่าสิทธิเป็นรายเดือนอีกให้แก่ผู้ขายสิทธิทุกเดือนภายในวันที่สิ้นสุดของ แต่ละเดือน เป็นเงิน (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) เดือนละ 203,563.84 บาท นับตั้งแต่วันทำสัญญา (1 ธันวาคม 2549) ไปจนกว่า ผู้ซื้อสิทธิชำระราคาทรัพย์สินและจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเรียบร้อย...


          ข้อ 3...


          3.1 ผู้ซื้อสิทธิตกลงชำระราคาทรัพย์สินตามข้อ 1 จำนวน 64,000,000 บาท แก่ผู้ขายสิทธิเพื่อผู้ขายสิทธิ จะได้นำเงินดังกล่าวไปชำระแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด และจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ ภายในเดือน ธันวาคม 2550"


          3. บริษัทฯ ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำนวน 7 โฉนด พร้อมสิ่งปลูกสร้าง จำนวน 14 หลัง จากบริษัท บริหารสินทรัพย์ ก. เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2550 โดยบริษัทฯ เป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ค่าภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ รวมเป็นเงิน 3,327,292 บาท


          4. บริษัทฯ มีความประสงค์จะแบ่งขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างส่วนใหญ่ให้แก่บุคคลอื่น และได้ทำการปรับปรุงที่ดินและสิ่งปลูกสร้างส่วนที่เหลือเพื่อใช้งานของบริษัทฯ เอง เช่น ปรับพื้นที่ให้เสมอกันและปรับปรุงอาคารสำนักงานเป็นต้น


          5. บริษัทฯ ได้หารือ ดังนี้


          5.1 การจ่ายค่าสิทธิในการซื้อทรัพย์สินแก่ผู้ขายสิทธิตาม 2. ซึ่งถือว่าผู้ขายสิทธิได้ขายทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่าง จึงได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสิทธินั้น บริษัทฯ ผู้ซื้อสิทธิจะนำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีที่ผู้ขายสิทธิออกให้ มาถือเป็นภาษีซื้อในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้หรือไม่หรือต้องนำมารวมเป็นต้นทุนของทรัพย์สินทั้งจำนวน


          5.2 บริษัทฯ จะแบ่งมูลค่าต้นทุนการได้มาของสินทรัพย์ประเภทที่ดินแยกจากสิ่งปลูกสร้างโดยคำนวณตามสัดส่วนของเงินทั้งหมดที่ได้จ่ายไปเป็นค่าซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตาม 1. ค่าสิทธิในการซื้อทรัพย์สินตาม 2. และค่าโอนกรรมสิทธิ์ตาม 3. โดยใช้ราคาประเมินทรัพย์สินของกรมที่ดินเป็นเกณฑ์ในการคำนวณได้หรือไม่


          5.3 บริษัทฯ จะนำภาษีซื้อที่เกิดจากการปรับปรุงที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อใช้งานของบริษัทฯ เอง ตาม 4. มาหักภาษีขายทั้งจำนวนได้หรือไม่ หรือต้องเฉลี่ยภาษีซื้อและต้องยื่นแบบ ภ.พ.05.1ภ.พ.05.2 และ ภ.พ.05.3 หรือไม่


          2. กรณีการแบ่งมูลค่าต้นทุนการได้มาของสินทรัพย์ประเภทที่ดินแยกจากสิ่งปลูกสร้างให้ถือตามราคาที่พึงซื้อทรัพย์สินนั้นได้ตามปกติเป็นเกณฑ์ในการคำนวณ ตามมาตรา 65 ทวิ (3) แห่งประมวลรัษฎากร


          3. กรณีภาษีซื้อที่เกิดจากการปรับปรุงที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในส่วนของที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างที่บริษัทฯ มีไว้ใช้ในการประกอบกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หากบริษัทฯ ไม่ได้ใช้สิ่งปลูกสร้างดังกล่าวในการประกอบกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัทฯ ไม่มีสิทธินำภาษีซื้อที่เกิดจากการปรับปรุงสิ่งปลูกสร้างมาหักออกจากภาษีขาย แต่หากบริษัทฯ ได้ประกอบกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย และบริษัทฯ ได้นำสิ่งปลูกสร้างไปใช้หรือจะใช้ในกิจการทั้งสองประเภท โดยไม่สามารถแยกได้อย่างชัดแจ้งว่า ภาษีซื้อดังกล่าวเป็นภาษีซื้อของกิจการประเภทใด ให้บริษัทฯ เฉลี่ยภาษีซื้อ ตามมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากรประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อ ตามมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2535

เลขที่หนังสือ: กค 0706/พ./11898
วันที่: 30 พฤศจิกายน 2550
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีภาษีซื้อจากการจ่ายค่าสิทธิในการซื้อทรัพย์สิน และการเฉลี่ยภาษีซื้อ
ข้อกฎหมาย: มาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          บริษัทฯ หารือเกี่ยวกับภาษีซื้อและการเฉลี่ยภาษีซื้อจากการซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยมีข้อเท็จจริง ดังนี้
แนววินิจฉัย          1. กรณีการขายสิทธิเรียกร้องในการซื้อทรัพย์สิน เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงตามสัญญาขายสิทธิเรียกร้องในการซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ระหว่างบริษัทฯ (ผู้ซื้อสิทธิ) กับบริษัท ย. (ผู้ขายสิทธิ) ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2549 ซึ่งระบุใน 2.2 ของข้อ 2 ประกอบกับข้อสัญญาตาม 3.1 ของข้อ 3 เป็นกรณีที่บริษัท ย. ได้ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างคืนจากบริษัท บริหารสินทรัพย์ ก. แล้วขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างนั้น ให้แก่บริษัทฯ ในราคา 64,000,000 บาท รวมกับ ค่าตอบแทนตาม 2.2 ของข้อ 2 ของสัญญา โดยให้บริษัท บริหารสินทรัพย์ ก. โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้แก่ บริษัทฯ โดยตรงกรณีดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเรื่องของการขายสิทธิเรียกร้องในการซื้อทรัพย์สินแต่เป็นกรณีที่บริษัท ย. ได้ขายอสังหาริมทรัพย์ให้แก่บริษัทฯ ซึ่งอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ บริษัท ย. จึงไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากบริษัทฯ ดังนั้น ภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริษัทฯ ถูกเรียกเก็บไปจึงนำมาเป็นภาษีซื้อหรือนำมาเป็นต้นทุนไม่ได้
เลขตู้: 70/35483

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020