เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0702/พ./832
วันที่: 18 มีนาคม 2551
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีใบกำกับภาษี
ข้อกฎหมาย: มาตรา 78(2) มาตรา 86 มาตรา 79 และมาตรา 79(1) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          บริษัท ค. (ประเทศไทย) จำกัด ประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อสินค้า และเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ริษัทฯ มีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการพิมพ์ของใบกำกับภาษี เพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณลูกค้าที่เพิ่มขึ้น และ เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการจัดส่งทางไปรษณีย์ พร้อมทั้งป้องกันการแก้ไขให้เป็นไปตามที่กรมสรรพากรกำหนด กล่าวคือ เมื่อพิมพ์ออกจากระบบแล้วสามารถจัดส่งผ่านทางไปรษณีย์ได้ทันที แต่ทั้งนี้ข้อมูลบนใบกำกับภาษีของลูกค้าถือเป็นข้อมูล ส่วนตัวมิอาจเปิดเผยได้ จึงต้องมีการปกปิดรายการอยู่ด้านบนก่อน แต่เนื่องจากด้วยข้อจำกัดทางเทคนิคของกระดาษและ การพิมพ์ในปัจจุบัน จึงไม่สามารถพิมพ์ทะลุผ่านใบปกปิดได้โดยไม่มีกระดาษคาร์บอน จึงทำให้ต้นฉบับใบกำกับภาษีที่ให้กับ ลูกค้า (ใบที่ 3) ดูเสมือนว่าไม่ได้พิมพ์จากหัวพิมพ์ของเครื่องโดยตรง หากแต่เจตนาบริษัทฯ ต้องการให้เป็นต้นฉบับ ส่วนใบที่ 1 และใบที่ 2 ทางบริษัทฯ ใช้เป็นสำเนาใบกำกับภาษี เพื่อประกอบการจัดทำรายงานภาษีขายและบันทึกบัญชี ซึ่งจะเป็นดังนี้
          ใบที่ 1 ใช้เป็นสำเนาใบกำกับภาษี
          ใบที่ 2 ใช้เป็นสำเนาใบกำกับภาษี ใบที่ 2
          ใบที่ 3 ต้นฉบับใบกำกับภาษี
          บริษัทฯ จึงขอทราบว่า
          1. ลักษณะใบกำกับภาษีของบริษัทฯ ไม่สอดคล้องกับกฎหมายหรือไม่ อย่างไร
          2. บริษัทฯ ขอความอนุเคราะห์ให้สามารถใช้ใบกำกับภาษีตามแบบฟอร์มดังกล่าว ได้หรือไม่
แนววินิจฉัย          บริษัทฯ ต้องจัดทำใบกำกับภาษี และสำเนาใบกำกับภาษี สำหรับการขายสินค้าหรือให้บริการทุกครั้ง และต้องจัดทำ ในทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น พร้อมทั้งให้ส่งมอบใบกำกับภาษีนั้นให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ ตามมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร โดยใบกำกับภาษีต้องมีรายการอย่างน้อย ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร หากบริษัทฯ จัดทำใบกำกับภาษี ตาม มาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ที่มีรายการในใบกำกับภาษีเป็นสำเนา (Copy) ภาษีซื้อตาม ใบกำกับภาษีดังกล่าว เป็นภาษีซื้อต้องห้ามมิให้นำไปหักภาษีขาย ตามข้อ 2(7) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535
เลขตู้: 71/35714

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020