เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0702/3440
วันที่: 20 มิถุนายน 2551
เรื่อง: ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายเงินไปต่างประเทศ
ข้อกฎหมาย: มาตรา 76 ทวิ มาตรา 3 พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 18) มาตรา 85/3 มาตรา 77/2(1) และ มาตรา 83/6 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          1. บริษัทฯ เป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย บริษัทฯ ได้ว่าจ้างบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย ต่างประเทศ เช่น ประเทศสิงคโปร์ ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่น ที่ไม่มีสาขาหรือสถานประกอบการ ในประเทศไทย (บริษัทต่างประเทศ) เข้ามาดำเนินการซ่อม ปรับจูน บำรุงรักษา ตรวจสอบสมรรถนะ อุปกรณ์ เครื่องจักร ให้ใช้งานได้ตามปกติในประเทศไทย
          2. บริษัทต่างประเทศจะส่งพนักงานเข้ามาดำเนินการดังกล่าว โดยมิได้ให้ข้อสนเทศเกี่ยวกับประสบการณ์ ทางอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งบริษัทต่างประเทศมีสิทธิหวงกัน โดยจะใช้เวลาดำเนินการ ในประเทศรวมกันไม่เกิน 60 วัน ในแต่ละปีภาษี เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จบริษัทต่างประเทศจะส่งใบแจ้งหนี้เพื่อเรียก เก็บเงิน ได้แก่ ค่าบริการซ่อม ค่าปรับจูน ค่าบำรุงรักษา ค่าตรวจสอบสมรรถนะ อุปกรณ์ เครื่องจักร และค่าโดยสาร เครื่องบิน ค่าเดินทาง ค่าโรงแรมที่พักของพนักงานที่เข้ามาให้บริการ
          3. บริษัทฯ ขอหารือว่า ความเข้าใจของบริษัทฯ ถูกต้องหรือไม่ ดังนี้
               3.1 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีดังกล่าวถือได้ว่า ผู้ให้บริการประกอบกิจการในประเทศไทยโดยมี ลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนหรือผู้ติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทยตามมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร อย่างไรก็ดี เงินได้ดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นกำไรจากธุรกิจ และ ผู้ให้บริการไม่มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย ตามข้อ 5 และข้อ 7 แห่งอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับประเทศสิงคโปร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา และ ประเทศญี่ปุ่น ดังนั้น ผู้ให้บริการ จึงได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทยตามข้อ 7 แห่งอนุสัญญาฯ ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 เมื่อบริษัทฯ จ่ายเงินได้ดังกล่าวออกไป จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินนำส่งแต่อย่างใด
               3.2 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรได้เข้ามาให้บริการในราชอาณาจักร เป็นครั้งคราว โดยไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราวตามมาตรา 85/3 แห่งประมวลรัษฎากร อยู่ใน บังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้จ่ายค่าบริการ ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ให้กับบริษัทต่างประเทศ มีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริษัทต่างประเทศมีหน้าที่ต้องเสีย โดยยื่นแบบนำส่ง ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.36 จากเงินที่จ่ายไป ณ ที่ว่าการอำเภอภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึง ประเมินให้แก่บริษัทต่างประเทศ ตามมาตรา 83/6 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
แนววินิจฉัย          1. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีบริษัทต่างประเทศส่งพนักงานเข้ามาดำเนินการซ่อม ปรับจูน บำรุงรักษา ตรวจสอบสมรรถนะ อุปกรณ์ เครื่องจักร ในประเทศไทย ถือได้ว่า บริษัทต่างประเทศ ประกอบกิจการในประเทศไทย โดยมีลูกจ้างในการประกอบกิจการในประเทศไทยตามมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับเงินได้ในกรณีนี้ เข้าลักษณะเป็นกำไรจากธุรกิจ หากพนักงานของบริษัทต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยมีระยะเวลารวมกันไม่ เกินกว่า 183 วัน ยังถือไม่ได้ว่า บริษัทต่างประเทศมีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทยจากค่าบริการที่ได้รับ ตามข้อ 5 และข้อ 7 แห่งอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บ ภาษีซ้อนกับประเทศสิงคโปร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น ประกอบกับมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 ดังนั้น เมื่อบริษัทฯ จ่าย เงินได้ดังกล่าวออกไป จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแต่อย่างใด
          2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม การให้บริการดังกล่าว เข้าลักษณะกรณีบริษัทต่างประเทศได้เข้ามาให้บริการใน ราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว โดยไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราวตามมาตรา 85/3 แห่งประมวล รัษฎากร อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้จ่ายค่าบริการ ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ให้กับบริษัทต่างประเทศมีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริษัทต่างประเทศมีหน้าที่ต้องเสีย โดย ยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.36 จากเงินที่จ่ายไป ณ ที่ว่าการอำเภอภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือน ที่จ่ายเงินได้ พึงประเมินให้แก่บริษัทต่างประเทศ ตามมาตรา 83/6 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 71/35956

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020