เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0702/3397
วันที่: 19 มิถุนายน 2551
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ข้อกฎหมาย: มาตรา 77/1(5) มาตรา 79/3 มาตรา 82 มาตรา 83 และมาตรา 85/1 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          1. กรณีมีเงินได้จากการรับจ้างทำของรวมจำนวน 1,700,000 บาท ต่อมามีรายได้จากการรับจ้างทำของ เพิ่มขึ้นอีก โดยถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย จำนวน 200,000 บาท รวมเป็นเงินได้รับทั้งปี 1,900,000 บาท นาย ธ. มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ และต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากยอดจำนวนใด
          2. กรณีมีสัญญาจ้างงานเป็นลายลักษณ์อักษรจำนวนรวม 2,000,000 บาท แต่ได้รับเงินเป็นงวดในปีแรก รับเงินจำนวน 1,500,000 บาท ปีต่อมาได้รับอีก 500,000 บาท นาย ธ. มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือไม่ และต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากยอดจำนวนใด
แนววินิจฉัย          1. กรณีนาย ธ. ประกอบกิจการรับจ้างทำของ เข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการตามมาตรา 77/1(5) แห่ง ประมวลรัษฎากร หากนาย ธ. มีมูลค่าของฐานภาษีจากการประกอบกิจการเกิน 1,800,000 บาทต่อปี ต้องยื่นคำขอ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีมูลค่าของฐานภาษีเกิน 1,800,000 บาทต่อปี และมีหน้าที่ ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะส่วนที่เกินกว่า 1,800,000 บาท ภายใน วันที่ 15 ของเดือนถัดไป ทั้งนี้ ตามมาตรา 82 มาตรา 83 และมาตรา 85/1 แห่งประมวลรัษฎากร
          2. กรณีนาย ธ. มีสัญญาจ้างงานเป็นลายลักษณ์อักษรจำนวนรวม 2,000,000 บาท แต่ได้รับเงินเป็นงวด ในปีแรกรับเงินจำนวน 1,500,000 บาท ปีต่อมาได้รับอีก 500,000 บาท นั้น เกณฑ์การคำนวณวันที่มูลค่าของ ฐานภาษีสำหรับการให้บริการเกิน 1,800,000 บาท ต่อปีหรือไม่ ต้องถือมูลค่าของฐานภาษีในวันที่ความรับผิด ในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ตามมาตรา 79/3 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้นหากนาย ธ. มีมูลค่าของฐานภาษี ในปีนั้นๆ ไม่เกิน 1,800,000 บาท จึงยังมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 432) พ.ศ. 2548 นาย ธ. จึงยังไม่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนและเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
เลขตู้: 71/35951

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020