เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0702(กม.06)/1263
วันที่: 7 กรกฎาคม 2551
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางเนื่องจากการปฏิบัติงานบนสายการบินระหว่างประเทศ
ข้อกฎหมาย: มาตรา 42(1) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          พนักงานของบริษัทสายการบิน ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ โดยมีสำนักงานสาขา ในประเทศไทย มีพนักงานต้อนรับปฏิบัติหน้าที่บนสายการบินระหว่างประเทศ โดยพนักงานดังกล่าว นอกจากจะได้รับ เงินเดือนประจำแล้ว ยังได้รับประโยชน์เพิ่ม เป็นค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ซึ่งสำนักงานสาขาเป็นผู้จ่าย พนักงานต้อนรับจะ ได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่บนเครื่องบินในอัตราเหมาจ่ายเป็นรายวัน เพื่อชดเชยค่าอาหาร ในขณะปฏิบัติหน้าที่อยู่ต่างประเทศเป็นครั้งคราวเป็นจำนวนเงินวันละ 70 เหรียญสหรัฐอเมริกา (ตามตารางการบินที่ สำนักงานใหญ่กำหนด ) การจ่ายเบี้ยเลี้ยงเดินทางในแต่ละเดือนจะจ่ายย้อนหลังให้พนักงานเมื่อทำงานเสร็จสิ้น เช่น เบี้ยเลี้ยงเดือนมกราคม จะจ่ายให้พนักงานในเดือน กุมภาพันธ์
แนววินิจฉัย          กรณีตามข้อเท็จจริง สำนักงานสาขาได้จ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางให้แก่พนักงานต้อนรับในระหว่างการเดินทางเพื่อ ปฏิบัติหน้าที่อยู่ต่างประเทศเป็นครั้งคราวในอัตราเหมาจ่ายเป็นรายวัน วันละ 70 เหรียญสหรัฐอเมริกา (ในอัตราระหว่าง 2,300 บาท ถึง 2,800 บาท ต่อวัน) ซึ่งไม่เกินอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงสูงสุดที่ทางราชการกำหนดจ่ายให้แก่ข้าราชการในการ เดินทางไปราชการในต่างประเทศ ทั้งนี้ ตามมาตรา 49 แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2548 และพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 ประกอบกับข้อ 12 ของระเบียบกระทรวง การคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2550 บัญชีหมายเลข 6 ท้ายระเบียบฯ ดังกล่าว ประเภท ข ในลักษณะเหมาจ่ายกำหนดไว้ในอัตรา 3,100 บาท ต่อวัน ดังนั้น หากพนักงานได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางจาก สำนักงานสาขาในอัตราที่ไม่เกินกว่าอัตราดังกล่าวและได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็น เฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ ของตนและได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของพนักงานดังกล่าว ทั้งนี้ ตามมาตรา 42 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 1 (2) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.59/2538ฯ ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2538
เลขตู้: 71/35991

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020