เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0702/4808
วันที่: 8 สิงหาคม 2551
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีซื้อรถยนต์ที่มีเลขไมล์แล้วมาขาย
ข้อกฎหมาย: ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42)ฯ และมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          บริษัทฯ เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์อย่างเป็นทางการของรถยนต์ยี่ห้อ A ซึ่งมีทั้งการ จำหน่ายรถยนต์และจำหน่ายอะไหล่ของแท้ให้กับร้านค้ารายย่อย และศูนย์บริการซ่อมแซม รถยนต์ และซ่อมสีรถยนต์มาตรฐานของ A บริษัทฯ ต้องสั่งรถยนต์เข้ามาจำหน่ายและขายให้ ได้ตามจำนวนที่กำหนดจากบริษัท B เนื่องจากรถยนต์ที่บริษัทฯ จำหน่าย เป็นสินค้าที่มีราคาสูง จึงมีความจำเป็นต้องมีรถยนต์ทดลองขับให้ลูกค้าได้ทดสอบ (Test Drive) ก่อนการตัดสินใจซื้อ ซึ่งบริษัทฯ ได้เช่าซื้อมาจากบริษัท C รถยนต์ทดลองขับดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท C โดยบริษัทฯ จะจ่ายเป็นค่าเช่ารถยนต์เป็นรายเดือน และบริษัทฯ จะหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา ร้อยละ 5.0 และนำส่งภาษีตามแบบ ภ.ง.ด. 53 บริษัทฯ จะได้รับใบกำกับภาษีซื้อสำหรับค่าเช่า รถทดลองขับจากบริษัท C โดยบริษัทฯ ได้นำไปหักในการคำนวณภาษีขายแต่ละเดือนภาษี หากลูกค้าสนใจที่จะซื้อรถยนต์ทดลองขับ บริษัทฯ จะขายต่อให้ลูกค้าได้ทันที โดยไม่ต้องโอน กรรมสิทธิ์รถยนต์ดังกล่าวมาเป็นของบริษัทฯ (เพราะเป็นการขายรถยนต์ที่มีเลขไมล์เดินแล้ว แต่ยังไม่เคยมีการโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์นั้นมาก่อน ลูกค้าจะมีชื่อจดทะเบียนเป็นเจ้าของมือแรก) โดยต้องระบุในใบกำกับภาษีขายว่า เป็นการขายรถ DEMO ตามข้อกำหนดของสำนักงาน คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เพื่อเป็นหลักฐานระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายว่าผู้ซื้อได้ตกลง ซื้อและรับมอบรถยนต์ที่มีเลขไมล์เกิดขึ้นแล้วจากผู้ขาย บริษัทฯ ขอทราบว่า
          1. ใบกำกับภาษีซื้อของค่าเช่ารถยนต์จากบริษัท C ที่บริษัทได้นำมาใช้ในกิจการของ บริษัทฯ บริษัทฯ สามารถนำไปใช้ในการคำนวณภาษีขายได้ ถูกต้องหรือไม่
          2. ใบกำกับภาษีซื้อสำหรับรถทดลองขับที่บริษัทฯ ได้รับมา บริษัทฯ สามารถนำไปหัก ในการคำนวณภาษีขายแต่ละเดือนภาษีได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวล รัษฎากร และตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5 (6) แห่ง ประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ถูกต้องหรือไม่
          3. การขายรถยนต์ที่ใบกำกับภาษีซื้อระบุว่าเป็นรถยนต์ทดลองขับนั้น จะเป็นการขาย รถยนต์ที่เป็นสินค้าหรือทรัพย์สินของบริษัทฯ กรณีขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงเป็นรายกรณี ถูกต้อง หรือไม่
แนววินิจฉัย          1. ตามข้อ 1. ภาษีซื้อที่เกิดขึ้นจากการเช่ารถยนต์นั่งที่มิใช่สำหรับการขายรถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต การให้บริการเช่ารถยนต์ดังกล่าวของตนเองโดยตรง และการให้บริการรับประกันวินาศภัย สำหรับรถยนต์ดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นภาษีซื้อที่ไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามข้อ 2 (1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42)ฯ ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ดังนั้น บริษัทฯ ไม่สามารถนำใบกำกับภาษีซื้อจากการเช่ารถยนต์จาก บริษัท C มาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรได้
          2. กรณีตามข้อ 2. และข้อ 3. บริษัทฯ ขายรถยนต์ทดลองขับ บริษัทฯ จะต้องออก ใบกำกับภาษีขายและบริษัทฯ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82 แห่งประมวล รัษฎากร ส่วนภาษีซื้อที่เกิดขึ้นจากการซื้อรถยนต์ทดลองขับมาเพื่อขาย บริษัทฯ ที่มีสิทธินำมา เป็นภาษีซื้อในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ หากบริษัทฯ ซื้อรถยนต์ทดลองขับ มีจุดประสงค์ เพื่อใช้ประกอบกิจการของบริษัทฯ และขายให้ลูกค้าในเวลาต่อมา ภาษีซื้อที่เกิดขึ้นจากการซื้อ รถยนต์ดังกล่าว ย่อมต้องห้ามตามมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 (1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42)ฯ ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535
เลขตู้: 71/36088

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020