เมนูปิด


          1. ค่าคอมมิชชั่นที่จ่ายให้แก่นายหน้าซึ่งเป็นบริษัทไทยสำหรับการหาของลงเรือจากประเทศอินโดนีเซียเข้ามายังประเทศไทย และจากประเทศกัมพูชาไปยังประเทศสิงคโปร์


          2. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการขนของออกจากเรือที่ท่าในประเทศไทย (stevedore charge)


          3. ค่าท่าที่นำเรือเข้าจอดในประเทศไทย (port charge)


          4. ค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคในประเทศไทย เพื่อใช้สอยสำหรับการปฏิบัติงานของลูกเรือในระหว่างการเดินเรือตามเส้นทางข้างต้น


          5. ค่าบริหารจัดการที่จ่ายให้กับบริษัทไทย เช่น ค่าจัดทำบัญชี การจัดซื้อ จัดจ้างพนักงาน การจัดการดูแลเรือ และยื่นภาษีในกรณีต่างๆ เป็นต้น


          บริษัทฯ ขอหารือดังนี้


          1. การประกอบธุรกิจของบริษัทฯ ถือเป็นการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศหรือไม่


          2. หากบริษัทฯ ได้รับใบกำกับภาษีจากผู้ประกอบการจดทะเบียนในประเทศไทย สำหรับค่าใช้จ่ายข้างต้น บริษัทฯ จะสามารถนำมาขอคืนภาษีซื้อได้หรือไม่


          3. ภาษีซื้อจากการซื้อเรือที่ใช้ในการประกอบกิจการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ บริษัทฯ สามารถนำมาขอคืนภาษีซื้อได้หรือไม่


          4. สำหรับภาษีซื้อจากค่าคอมมิชชั่นที่บริษัทนายหน้าในประเทศไทยเรียกเก็บ จะนำมาเป็นภาษีซื้อได้หรือไม่


          2. การให้บริการรับขนสินค้าจากต้นทางท่าเรือในต่างประเทศไปยังท่าเรือปลายทางในต่างประเทศ การให้บริการขนส่งดังกล่าว ไม่เข้าลักษณะเป็นการให้บริการในราชอาณาจักร ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการขนส่งไม่มีสิทธินำภาษีซื้อที่เกิดจากกิจการที่ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ ตามมาตรา 82/3 และ 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(3) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535


          3. กรณีบริษัทฯ ประกอบกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้บริษัทฯ เฉลี่ยภาษีซื้อที่ไม่สามารถแยกได้อย่างชัดแจ้งว่า เป็นภาษีซื้อของกิจการประเภทใด เช่น ภาษีซื้อจากการซื้อเรือ ตามหลักเกณฑ์ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อ ตามมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2535


          4. สำหรับภาษีซื้อจากค่าคอมมิชชั่นที่จ่ายให้บริษัทไทยในการหาของลงเรือจากประเทศกัมพูชาไปยังประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นกิจการที่ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น บริษัทฯ ไม่มีสิทธินำภาษีซื้อดังกล่าวมาหักออกจากภาษีขายได้

เลขที่หนังสือ: กค 0702/5946
วันที่:17 กันยายน 2551
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการขนส่งสินค้าโดยเรือลากจูงระหว่างประเทศ
ข้อกฎหมาย: มาตรา 77/2 มาตรา 80/1(3) มาตรา 79/1(2)(ข) และมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          บริษัทฯ จดทะเบียนตามกฎหมายไทย ประกอบธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยใช้เรือลากจูง ซึ่งประกอบด้วยเรือ 2 ส่วนคือ ส่วนที่หนึ่ง เป็นเรือที่มีเครื่องยนต์ สำหรับทำหน้าที่ลากจูง (เรือ Tug) และส่วนที่สอง เป็นเรือที่ทำหน้าที่บรรทุกสินค้า (เรือ Barge) โดยบริษัทฯ ให้บริการขนส่งถ่านหินจากประเทศอินโดนีเซียเข้ามาในประเทศไทย หลังจากนั้น จะวิ่งเรือเปล่า (ไม่มีรายได้) จากประเทศไทยไปประเทศกัมพูชา เพื่อรับขนทรายจากประเทศกัมพูชาไปประเทศสิงคโปร์ และจากประเทศสิงคโปร์จะวิ่งเรือเปล่า (ไม่มีรายได้) ไปรับสินค้าที่ประเทศอินโดนีเซียเพื่อขนถ่านหินเข้ามาประเทศไทยอีกครั้ง ในการดำเนินงานดังกล่าว บริษัทฯ ถูกเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้ในประเทศไทย แนววินิจฉัย          1. การให้บริการรับขนสินค้าจากต้นทางท่าเรือในประเทศไทยไปยังท่าเรือปลายทาง ในต่างประเทศหรือการให้บริการรับขนสินค้าจากต้นทางท่าเรือในต่างประเทศมายังท่าเรือปลายทางในประเทศไทย เข้าลักษณะเป็นการให้บริการในราชอาณาจักร อยู่ในบังคับต้อง เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 77/2 และมาตรา 80/1(3) แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้บริษัทฯ นำเฉพาะมูลค่าของค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนหักรายจ่ายใดๆ เนื่องจากการรับขนสินค้าออกนอกราชอาณาจักร ตามมาตรา 79/1(2)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร มารวมเป็นฐานภาษีและบริษัทลูกค้ามีสิทธินำภาษีซื้อที่เกิดจากกิจการดังกล่าว เช่น ค่าบริหารจัดการเรือ ค่าคอมมิชชั่น ค่าบริการจัดหาสินค้าลงเรือที่ถูกผู้ประกอบการในประเทศไทยเรียกเก็บ เป็นต้น ไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 71/36154

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020