เมนูปิด


              1.1 งวดแรก ในวันทำสัญญา (วันที่ 26 กันยายน 2549) จำนวน 5,000,000 บาท


              1.2 งวดที่สอง ชำระในวันจดทะเบียนสิทธิการเช่าที่ดิน (วันที่ 3 กรกฎาคม 2550) จำนวน 57,942,393 บาท


              1.3 งวดที่สาม ชำระภายใน 2 ปี นับจากวันที่จดทะเบียนสิทธิการเช่าที่ดิน (ภายในวันที่ 3 กรกฎาคม 2552) จำนวน 32,000,000 บาท


          2. นาย ก. และนาย ข. ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 สำหรับเงินค่าเช่ารับล่วงหน้างวดแรก จำนวน 31 ฉบับ เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2549 และได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2550 ในนามของผู้มีเงินได้แต่ละคน


          3. นาย ก. ขอทราบดังนี้


              3.1 กรณีที่ดินมรดกเป็นกรรมสิทธิ์รวมของนาย ก. และนาย ข. เงินได้พึงประเมิน จากการให้เช่าที่ดินดังกล่าว นาย ก. และนาย ข. มีสิทธิแยกยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 และ แบบ ภ.ง.ด.90 ในนามของผู้มีเงินได้แต่ละคน ได้หรือไม่


              3.2 กรณีนาย ก. และนาย ข. ยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 และ แบบ ภ.ง.ด.90 ไว้แล้วในนามของผู้มีเงินได้แต่ละคน หากนาย ก. และนาย ข. ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 และ แบบ ภ.ง.ด.90 ในนามคณะบุคคล คณะบุคคลสามารถนำภาษีที่ได้ชำระไว้แล้วในนามของผู้มีเงินได้แต่ละคน มาเป็นเครดิตภาษีของแบบ ภ.ง.ด.93 และแบบ ภ.ง.ด.90 ในนามคณะบุคคล ได้หรือไม่


              3.3 กรณีนาย ก. และนาย ข. ได้รับเงินค่าเช่ารับล่วงหน้าจำนวน 3 งวด งวดแรก ในปี 2549 งวดที่สองในปี 2550 งวดที่สามในปี 2552 ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 จะเฉลี่ยเงินได้ พึงประเมินดังกล่าวอย่างไร


          2. กรณีนาย ก. และนาย ข. นำเงินค่าเช่ารับล่วงหน้าที่ได้รับมาแยกยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 และ แบบ ภ.ง.ด.90 ในนามของผู้มีเงินได้แต่ละคน ถือเป็นการยื่นแบบแสดงรายการฯ ผิดหน่วย ภาษี จึงถือว่า คณะบุคคลดังกล่าวไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการฯ ดังนั้น คณะบุคคลดังกล่าว จึงต้อง ยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 และแบบ ภ.ง.ด.90 ของคณะบุคคลใหม่ แต่อย่างไรก็ดี นาย ก. และนาย ข. ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 และแบบ ภ.ง.ด.90 ในนามของผู้มีเงินได้แต่ละคนภายในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด โดยสำคัญผิดในหน่วยภาษี มิได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรแต่อย่างใด จึงเห็นควรอนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 และแบบ ภ.ง.ด.90 ของคณะบุคคล ตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร โดยเงินเพิ่มให้ลดลงร้อยละ 0.75 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสีย ตามมาตรา 27 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร และคณะบุคคลไม่มีสิทธินำภาษีอากรที่ได้ชำระในนามของผู้มีเงินได้แต่ละคน มาหักออกจากภาษีที่ ต้องชำระตามแบบ ภ.ง.ด.90 ของคณะบุคคลได้ แต่นาย ก. และนาย ข. ซึ่งยื่นแบบแสดงรายการฯ และชำระภาษีในนามของผู้มีเงินได้แต่ละคน โดยไม่มีหน้าที่ต้องเสีย ต้องยื่นคำร้องขอคืนภาษีอากรที่ได้ชำระไว้ตามแบบ ภ.ง.ด.93 และแบบ ภ.ง.ด.90


          3. กรณีนาย ก. และนาย ข. ได้รับเงินค่าเช่ารับล่วงหน้าจำนวน 3 งวด งวดแรกในปี 2549 งวดที่สองในปี 2550 งวดที่สามในปี 2552 หากประสงค์ขอใช้สิทธิตามประกาศกระทรวงการคลังฯ ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 จะต้องนำเงินค่าเช่ารับล่วงหน้าจำนวน 3 งวด ที่ได้รับดังกล่าวมาเฉลี่ยเป็นรายปีตามส่วนแห่งจำนวนปีของอายุการเช่า โดยยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 ให้เสร็จสิ้นไปในปีที่ได้รับเงินค่าเช่ารับล่วงหน้า

เลขที่หนังสือ: กค 0702/6339
วันที่:30 กันยายน 2551
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 และ แบบ ภ.ง.ด.90 ผิดหน่วยภาษี
ข้อกฎหมาย: ประกาศกระทรวงการคลังฯ ลงวันที่ 19 กุมพาพันธ์ พ.ศ. 2528 และมาตรา 27 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          1. นาย ก. และนาย ข. ได้ทำสัญญาให้เช่าที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมจำนวน 3 แปลง กับบริษัท A จำกัด เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2549 เป็นเวลา 30 ปี สัญญามีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2552 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2582 โดยบริษัทฯ เริ่มชำระค่าเช่าที่ดินเป็นรายเดือนตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2552 เป็นต้นไป และตามสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าว บริษัทฯ จะชำระเงินค่าเช่ารับล่วงหน้าเป็นเช็คและออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย แบ่งเป็น 3 งวด ดังนี้ แนววินิจฉัย          1. กรณีนาย ก. และนาย ข. นำที่ดินมรดกที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมของนาย ก. และนาย ข. ไปทำสัญญาให้เช่าที่ดิน ย่อมเข้าลักษณะเป็นเงินได้หรือประโยชน์อย่างอื่นที่คณะบุคคลได้รับ เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สินตามมาตรา 40(5) แห่งประมวลรัษฎากร คณะบุคคลดังกล่าวจึงต้อง นำเงินได้ดังกล่าวทั้งจำนวนไปยื่นแบบแสดงรายการฯ ในนามคณะบุคคล โดยมีสิทธินำเงินค่าเช่ารับล่วงหน้าที่ได้รับมาเฉลี่ยเป็นรายปีตามส่วนแห่งจำนวนปีของอายุการเช่า เพื่อขอใช้สิทธิตาม ประกาศกระทรวงการคลังฯ ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ก็ได้
เลขตู้: 71/36181

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020