เมนูปิด

            มาตรา 5  ภาษีอากรซึ่งบัญญัติไว้ในลักษณะนี้ ให้อยู่ในอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมสรรพากร

            มาตรา 6  ในกรณีทั้งปวงซึ่งคณะบุคคลเป็นผู้มีหน้าที่และคณะนั้นมิใช่นิติบุคคล ให้ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการคณะนั้นเป็นผู้รับผิดชอบ

            มาตรา 7  บรรดารายการ รายงาน หรือเอกสารอื่น ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลต้องทำยื่นนั้น ให้กรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้จัดการเป็นผู้ลงลายมือชื่อ

            มาตรา 8  หมายเรียก หนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากร หรือหนังสืออื่นซึ่งมีถึงบุคคลใดตามลักษณะนี้ ให้ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ หรือให้เจ้าพนักงานสรรพากรนำไปส่ง ณ ภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ หรือสำนักงานของบุคคลนั้นในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการของบุคคลนั้น ถ้าไม่พบผู้รับ ณ ภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ หรือสำนักงานของผู้รับ จะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและอยู่หรือทำงานในบ้านหรือสำนักงานที่ปรากฏว่าเป็นของผู้รับนั้นก็ได้
            กรณีไม่สามารถส่งตามวิธีในวรรคหนึ่งได้ หรือบุคคลนั้นออกไปนอกราชอาณาจักร ให้ใช้วิธีปิดหมาย หนังสือแจ้งหรือหนังสืออื่น แล้วแต่กรณี ในที่ซึ่งเห็นได้ง่าย ณ ที่อยู่ หรือสำนักงานของบุคคลนั้น หรือบ้านที่บุคคลนั้นมีชื่ออยู่ในทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรครั้งสุดท้าย หรือโฆษณาข้อความย่อในหนังสือพิมพ์ที่จำหน่ายเป็นปกติในท้องที่นั้นก็ได้
            เมื่อได้ปฏิบัติตามวิธีดังกล่าวข้างต้นแล้ว ให้ถือว่าเป็นอันได้รับแล้ว
            (พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 ใช้บังคับ 1 ก.พ. 2529 เป็นต้นไป )

            มาตรา 9  เว้นแต่จะมีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ถ้าจำเป็นต้องคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยเพื่อปฏิบัติการตามลักษณะนี้ ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งกระทรวงการคลังประกาศเป็นคราว ๆ
            ( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2494 ใช้บังคับ 25 เม.ย. 2494 เป็นต้นไป )
            (ดูประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย)
            (ดูคำสั่งกรมสรรพากร ป.132/2548)
            (ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 2))

            มาตรา 9 ทวิ  เว้นแต่จะมีบทบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ถ้าจะต้องตีราคาทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดเป็นเงิน ให้ถือราคาหรือค่าอันพึงมีในวันที่ได้รับทรัพย์สินหรือประโยชน์นั้น
            ( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2494 ใช้บังคับ 25 เม.ย. 2494 เป็นต้นไป )
            ( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.118/2545 )

            มาตรา 10  เจ้าพนักงานผู้ใดโดยหน้าที่ราชการตามลักษณะนี้ ได้รู้เรื่องกิจการของผู้เสียภาษีอากร หรือของผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง ห้ามมิให้นำออกแจ้งแก่ผู้ใด หรือยังให้ทราบกันไปโดยวิธีใด เว้นแต่จะมีอำนาจที่จะทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

            มาตรา 10 ทวิ  เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร อธิบดีมีอำนาจเปิดเผยรายละเอียดดังต่อไปนี้
            (1) ชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกประเมินเพิ่มเติมของผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้น
            ( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 ใช้บังคับ 1 ม.ค. 2535 เป็นต้นไป )
            (2) ชื่อผู้เสียภาษีอากรและจำนวนภาษีอากรที่เสีย
            (3)ชื่อผู้สอบบัญชี และพฤติการณ์ของผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต
            ทั้งนี้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด
            ( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2525 ใช้บังคับ 3 ก.ค. 2525 เป็นต้นไป )
            ( ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับผู้เสียภาษีอากร พ.ศ. 2525 )

            มาตรา 10 ตรี  ให้อธิบดีในฐานะผู้แทนเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจที่ได้รับมอบหมายตามความตกลง หรืออนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน และการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรที่รัฐบาลไทยได้ทำไว้ หรือจะได้ทำกับรัฐบาลต่างประเทศ มีอำนาจแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ได้มาโดยหน้าที่ราชการตามลักษณะนี้ กับเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจอีกฝ่ายหนึ่ง
            ในกรณีที่อธิบดีเป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีอำานาจตามความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรที่สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทยได้ทำไว้กับสำนักงานเศรษฐกิจและการค้าของต่างประเทศ ให้อธิบดีมีอำนาจแลกเปลี่ยนข้อมูลเช่นเดียวกับที่บัญญัติตามวรรคหนึ่งด้วย
            ในกรณีที่รัฐบาลไทยได้เข้าผูกพันเป็นคู่สัญญาหรือภาคีตามความตกลงระหว่างประเทศใด ซึ่งมีข้อบัญญัติให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลภาษีอากรเพื่อประโยชน์ในการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากร ให้อธิบดีในฐานะเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหรือผู้แทนเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจที่ได้รับมอบหมาย มีอำนาจแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ได้มาโดยหน้าที่ราชการตามลักษณะนี้ กับเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจอีกฝ่ายหนึ่ง
            การแลกเปลี่ยนข้อมูลตามมาตรานี้ ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ซึ่งต้องสอดคล้องกับบทบัญญัติและเงื่อนไขของความตกลงหรืออนุสัญญานั้น
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2564 ใช้บังคับ 9 พ.ย. 2564 เป็นต้นไป )

            มาตรา 11  เว้นแต่จะมีบทบัญญัติหรืออธิบดีจะสั่งเป็นอย่างอื่น ให้นำเงินภาษีอากรไปเสีย ณ ที่ว่าการอำเภอ และการเสียภาษีอากรนั้นให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่งนายอำเภอได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว
            ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. )
            ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.7/2528 )
            ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.42/2535 )
            ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.52/2537 )
            ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.76/2541 )
            ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.103/2544 )
            ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.105/2545 )
            ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.109/2545 )
            ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.112/2545 )
            ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.124/2546 )
            ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.125/2546 )
            ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.128/2546 )
            ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.129/2546 )
            ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.134/2547 )
            ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.135/2547 )
            ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.136/2547 )
            ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.137/2547 )
            ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.138/2547 )
            ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.144/2548 )
            ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.145/2548 )
            ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.148/2548 )
            ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.177/2552 )
            ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.264/2559 )
            ( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 28) )
            ( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 104) )
            ( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 106) )
            ( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 107) )
            ( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 108) )
            ( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 111) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป )
            ( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 124) )
            ( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 127) )
            ( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 243) )
            ( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 292) )
            ( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 115) )
            ( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 118) )
            ( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 6) )
            ( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 21) )
            ( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 22) )
            ( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 32) )
            ( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 33) )
            ( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 37) )
            ( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข สำหรับการยื่นแบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน และมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ.2564 )

            มาตรา 11 ทวิ  ถ้าผู้เสียภาษีอากรต้องการขอใบแทนใบเสร็จที่เจ้าพนักงานได้ออกให้ไปแล้ว ให้ขอรับได้ ณ ที่ว่าการอำเภอโดยเสียค่าธรรมเนียมฉบับละ 50 สตางค์
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2482 ใช้บังคับ 7 พ.ย. 2482 เป็นต้นไป )

            มาตรา 12  ภาษีอากรซึ่งต้องเสียหรือนำส่งตามลักษณะนี้ เมื่อถึงกำหนดชำระแล้ว ถ้ามิได้เสียหรือนำส่ง ให้ถือเป็นภาษีอากรค้าง
            เพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้าง ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรได้ทั่วราชอาณาจักร โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง อำนาจดังกล่าวอธิบดีจะมอบให้รองอธิบดีหรือสรรพากรเขตก็ได้
            (ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.286/2560)
            (ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.300/2561)
            ในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอมีอำนาจเช่นเดียวกับอธิบดีตามวรรคสอง ภายในเขตท้องที่จังหวัดหรืออำเภอนั้น แต่สำหรับนายอำเภอนั้น จะใช้อำนาจสั่งขายทอดตลาดได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด
            วิธีการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม ส่วนวิธีการอายัดให้ปฏิบัติตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
            ( ระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการออกทำการตรวจค้นหรือยึดเพื่อการเร่งรัด ภาษีอากรค้าง )
            ( ระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการอายัดทรัพย์สินตามความในมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร )
            (ดูระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการจัดทำคำสั่งยึด หรืออายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สิน ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากรเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563)
            เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดดังกล่าว ให้หักค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายในการยึดและขายทอดตลาด และเงินภาษีอากรค้าง ถ้ามีเงินเหลือให้คืนแก่เจ้าของทรัพย์สิน
            ( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2525 ใช้บังคับ 17 ต.ค. 2525 เป็นต้นไป )
            ผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรตามวรรคสอง ให้หมายความรวมถึงผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลด้วย
            ( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2526 ใช้บังคับ 29 พ.ย. 2526 เป็นต้นไป )
            ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.126/2546 )
            ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.130/2546 )
            ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.238/2558 )
            ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.274/2560 )

            มาตรา 12 ทวิ  เมื่อได้มีคำสั่งยึดหรืออายัดตามมาตรา 12 แล้ว ห้ามผู้ใดทำลาย ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือโอนไปให้แก่บุคคลอื่นซึ่งทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัดดังกล่าว
            ( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2525 ใช้บังคับ 17 ต.ค. 2525 เป็นต้นไป )

            มาตรา 12 ตรี  เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามมาตรา 12 ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา 12 หรือสรรพากรจังหวัดมีอำนาจ
           (1) ออกหมายเรียกผู้ต้องรับผิดชำระภาษีอากรค้าง และบุคคลใด ๆ ที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์แก่การจัดเก็บภาษีอากรค้างมาให้ถ้อยคำ
           (2) สั่งบุคคลดังกล่าวใน (1) ให้นำบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นอันจำเป็นแก่การจัดเก็บภาษีอากรค้างมาตรวจสอบ
           (3) ออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าพนักงานสรรพากรทำการตรวจค้นหรือยึดบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นของบุคคลดังกล่าวใน (1)
           การดำเนินการตาม (1) หรือ (2) ต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันนับแต่วันได้รับหมายเรียกหรือคำสั่ง การออกคำสั่งและทำการตาม (3) ต้องเป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด
            ( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2525 ใช้บังคับ 17 ต.ค. 2525 เป็นต้นไป )
            ( ระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการออกทำการตรวจค้น หรือยึดเพื่อการเร่งรัดภาษีอากรค้าง )
            ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.126/2546 )
            ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.130/2546 )
            ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.238/2558 )
            ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.274/2560 )

            มาตรา 13  เจ้าพนักงานผู้ใดฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 10 มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
            ( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 ใช้บังคับ 21 มี.ค. 2562 เป็นต้นไป )

 

ปรับปรุงล่าสุด: 10-01-2024